‘ผ้าไหมฯลำพูน’ ตีตลาดอินเดีย

3326
‘ผ้าไหมฯลำพูน’ ตีตลาดอินเดีย | Creative Econ เป็นเว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์

‘ผ้าไหมฯลำพูน’ ตีตลาดอินเดีย

เมื่อ ‘ผ้าไหมยกดอกลำพูน’ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ในอินเดีย นั่นคือโอกาสใหม่ในการส่งออกผ้าไหมฯลำพูนเข้าสู่เอเชียใต้

‘ผ้าไหมฯลำพูน’ ตีตลาดอินเดียกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยข้อมูลการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของไทยในต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดประเทศอินเดียได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ผ้าไหมยกดอกลำพูน” เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ณ ประเทศอินเดียเรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ด้านอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดเผยว่า การประกาศดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจที่ต่างชาติยอมรับในคุณภาพและเอกลักษณ์ของสินค้าไทยอย่างผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยเฉพาะประเทศอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการทอผ้าแบบยกดอกในภูมิภาคเอเชียนี้

‘ผ้าไหมฯลำพูน’ ตีตลาดอินเดียนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดียได้ประกาศขึ้นทะเบียนผ้าไหมยกดอกลำพูนของไทยเป็นสินค้า GI ณ ประเทศอินเดีย อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา หลังจากที่ประเทศไทย โดยความร่วมมือของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมหม่อนไหม และสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย ได้ยื่นคำขอไปยังประเทศอินเดียตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2558 ถือเป็นอีกความพยายามที่กรมฯ ร่วมผลักดันให้เกิดความคุ้มครองสินค้า GI ไทยในเวทีต่างประเทศ และเป็นอีกหนึ่งในความภูมิใจของประเทศไทยที่สินค้า GI ไทยได้รับการยอมรับในเวทีระดับสากล”

นายทศพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผ้าไหมยกดอกลำพูนได้รับการขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศแล้ว 2 ประเทศ โดยอินเดียนับเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากประเทศอินโดนีเซียที่รับขึ้นทะเบียนไปตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ถือเป็นการยอมรับในคุณภาพและเอกลักษณ์สินค้าหัตถกรรมไทย โดยเฉพาะเอกลักษณ์ในการทอผ้าไหมยกดอกลำพูนว่า ไม่เหมือนที่ใดในโลก เพราะมีการทอลวดลายให้สูงกว่าผืนผ้า โดยยกไหมบางเส้น ข่มบางเส้น ใช้ตะกอลอย และใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทอยกให้เกิดลวดลาย มีจุดกำเนิดจากการเข้ามาในลำพูนของชนชาวยอง ที่ได้นำวิทยาการแขนงต่างๆ โดยเฉพาะการทอผ้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนชาวยองชั้นสูง เป็นมรดกทางหัตถกรรมล้ำค่าของชนชั้นเจ้าชาวยองที่สืบทอดต่อกันมา และนำเข้ามาผลิตในจังหวัดลำพูน”