
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวขณะลงพื้นที่ติดตามงานนโยบายการศึกษา “อาชีวศึกษา” ตามการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ครั้งที่ 6/2561 ภาคใต้ ณ วิทยาลัยเทคนิคศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และ เป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนผลงานสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ให้สามารถจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ว่า การดำเนินการขับเคลื่อนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา สู่ภาคอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม มีหลักสำคัญในการขับเคลื่อนคือ เป็นการจับคู่ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา และการเจรจาซื้อขายผลงาน สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษา ตลอดจนการให้คำแนะนำการวิจัยพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษา ในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการมาแล้วในส่วนของภาคตะวันออกและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จำนวน 116 ชิ้นงาน มีการจับคู่ธุรกิจ 24 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 200,000 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 243 ชิ้น จับคู่ธุรกิจ 98 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 812,879 บาท ภาคกลาง จำนวน 222 ชิ้นงาน จับคู่ธุรกิจ147 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 400,000 บาท และภาคเหนือ จำนวน 251 ผลงาน จับคู่ธุรกิจ จำนวน 170 แห่ง มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 228,815 บาท โดยได้รับความร่วมมือ การประสานงานของคณะกรรมการดำเนินการทุกฝ่าย ตามกลไก ของรัฐบาล “ประชารัฐ”
ในครั้งนี้ ภาคใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่ผ่านการคัดเลือกว่าสามารถพัฒนาต่อยอดเข้าสู่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จำนวน 259 ผลงาน จับคู่ธุรกิจ 135 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 1,206,000 บาท เพื่อให้สถานประกอบการได้เยี่ยมชม ให้คำแนะนำในการวิจัยพัฒนาผลงานให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น และนำไปสู่การจับคู่ความร่วมมือในการนำผลงานไปใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาส และส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำความรู้ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในการประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมที่มีคุณค่าเข้าสู่เชิงพาณิชย์และการต่อยอดทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดเผยว่า โครงการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ภาคใต้ เป็นการจับคู่ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาและการเจรจาซื้อขาย ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา เป้าหมายเพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นหัวใจสาคัญ ของการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งจะนำพาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ ชาติ ระยะ20