ต่างเจน..ต่างใจ..ขายอย่างไรให้ตอบโจทย์

1356

ภายในปี 2568 กลุ่มผู้สูงอายุ (Elderly) กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen ME) คาดว่าจะมีสัดส่วนรวมกันกว่าร้อยละ 46 ของประชากรไทยทั้งหมด

ส่งผลให้ในระยะข้างหน้าการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพของแต่ละธุรกิจ อาจจะไม่สามารถทำการตลาดแบบเป็นวงกว้างได้เหมือนอดีต จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างด้านสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์เฉพาะเจาะจงในระดับกลุ่มย่อยหรือระดับบุคคล (Personalization)

การใช้จ่ายของกลุ่มผู้สูงอายุน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี (CAGR 2560-2568) หรือราว 350,000 บาทต่อคนต่อปีภายในปี 2568

สูงกว่าการใช้จ่ายของกลุ่มคน Gen ME ที่คาดว่าค่าใช้จ่ายจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ต่อปี (CAGR 2560-2568) หรือราว 323,000 บาทต่อคนต่อปีภายในปี 2568

โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันของผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มนี้ คือ ผู้บริโภคยังคงคาดหวังและให้ความสำคัญกับคุณค่าต่างๆ ที่จะได้รับจากตัวสินค้าหรือบริการ แต่รูปแบบหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการที่จะมาตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มนั้น อาจจะมองกันคนละมุมหรือคนละมิติ

กล่าวคือ ความพึงพอใจหรือความคุ้มค่าต่อสินค้าและบริการที่จะได้รับของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มอาจจะให้น้ำหนักกับปัจจัยต่างๆ หรือมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen ME ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลาและต้องการสร้างสมดุลให้กับชีวิต คนกลุ่มนี้จึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถช่วยร่นระยะเวลา และตอบสนองต่อความต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว

ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุ (Elderly) แม้ว่าจะเริ่มให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ก็จะเน้นไปที่การใช้งานที่ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเป็นหลัก

ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญมากขึ้นและควรทำความเข้าใจอย่างละเอียด หากต้องการที่จะเข้าถึงหรือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง (Personalization) ได้อย่างแม่นยำขึ้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงแนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการที่สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคในระยะข้างหน้า ผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม น่าจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับคุณค่าของสินค้าและบริการที่จะตอบโจทย์ในเรื่องสุขภาพ (Health) และสิ่งแวดล้อม (Environment) มากขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือไปจากความคุ้มค่าคุ้มราคา

แต่ลักษณะหรือรูปแบบการเลือกซื้อสินค้า และใช้บริการอาจจะแตกต่างกันตามปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น กำลังซื้อ ไลฟ์สไตล์ การเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นต้น

ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสรุปแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นให้เห็นถึงภาพรวมของแต่ละกลุ่ม (ซึ่งแต่ละคนในแต่ละกลุ่มก็อาจจะพฤติกรรมเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปอีก) โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทธุรกิจElderlyGen ME
สินค้า
อาหารและเครื่องดื่มเน้นสุขภาพเป็นหลักคุ้มค่าคุ้มราคาขนาดที่พอเหมาะ และทานง่าย ย่อยง่าย ดูดซึมง่ายเน้นสุขภาพเป็นหลักคุ้มค่าคุ้มราคาให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น แพ็คเกจจิ้ง
แฟชั่นเน้นความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ยังคงความทันสมัย เช่น ง่ายต่อการสวมใส่และมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูงราคาต้องสมเหตุสมผล เน้นการใช้งานที่ค่อนข้างยาวGenderless สามารถนำมา Mix & Match ได้กับทุกเพศทุกวัยทำจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดีไซน์หรือเทรนด์ที่ปรับเปลี่ยนไว จึงให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็น Second hands หรือ Goods sharing มากขึ้น
เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ด้านไอที, Gadgets ต่างๆใช้เทคโนโลยีที่เน้นขั้นตอนการใช้งานที่ไม่ยุงยาก ซับซ้อน มีขนาดใหญ่ เช่น จอแสดงผลหรือตัวหนังสือ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานเน้นฟังก์ชันการใช้งานที่ทันสมัยดีไซน์ที่เรียบหรู และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์
ที่อยู่อาศัยเน้นความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ และสะดวกสบาย เช่น พื้นห้องน้ำ ทางลาดชันต่างๆ ทางเดินที่กว้างพอสำหรับรถเข็นติดตั้งอุปกรณ์ IoT ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์แจ้งเตือนการลื่นล้ม, Home elevator, Automatic bathingผสมผสานระหว่างความเรียบง่ายแต่มีความทันสมัย รวมถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องเป็นที่อยู่อาศัยในรูปแบบประหยัดพลังงาน มี IoT อำนวยความสะดวก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจบริการ
ท่องเที่ยวท่องเที่ยวแบบเป็นกลุ่มโดยเฉพาะกับคนในครอบครัวเน้นสถานที่ที่สงบ มีความปลอดภัยสูง ไม่เร่งรีบมีการวางแผนการท่องเที่ยวชัดเจนเน้น Wellness tourism หรือที่เกี่ยวกับธรรมชาติท่องเที่ยวคนเดียวหรือกลุ่มเล็ก เน้นความอิสระ และสามารถปรับเปลี่ยนหรือมีความยืดหยุ่นได้มีความหลากหลาย เช่น Staycation เน้นพักผ่อนใกล้ๆ, Wellness tourism, AdventureDigital nomad เช่น Workation, Co-living & Co-working

หากมองไปในระยะยาว (ไม่ต่ำกว่า 10 ปี) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การให้ความสำคัญกับคุณค่าของสินค้าและบริการที่เน้นปัจจัยทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสัดส่วนประชากรทั้ง 2 กลุ่ม

แต่ลักษณะหรือรูปแบบของสินค้าหรือบริการที่เลือก (Functional) ก็คงจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จนส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละรายที่เปลี่ยนแปลงตาม

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้สูงอายุกลุ่มใหม่ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น การปรับตัวของผู้ประกอบการแต่ละกิจการก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก

ท้ายที่สุดอาจจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และผู้ประกอบการคงต้องทบทวนและปรับแผนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดภายใต้แนวทาง ‘มีคุณค่า คุ้มค่า และยั่งยืน’

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย