“พลังของคำว่าไม่” การรณรงค์เพื่อต่อสู้กับปัญหาเมาแล้วขับของคนหนุ่มสาว

398

เฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งปีของโครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่” เพื่อต่อสู้กับปัญหาเมาแล้วขับของคนหนุ่มสาวในประเทศไทย

โครงการรณรงค์ทางดิจิทัลใหม่ที่สร้างสรรค์นี้เข้าถึงคนหนุ่มสาวกว่า 39 ล้านคนทั่วภูมิภาคอาเซียน โครงการนี้นำโดยพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วนซึ่งมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทั้งจากองค์กรในชุมชน ธุรกิจ สมาคม และรัฐบาล รวมกว่า 28 หน่วยงาน[1] 

คนรุ่นใหม่กำลังรวมตัวกันเพื่อปกป้องโลกของเรา ผู้คน รวมถึงอนาคตของพวกเขาด้วย ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 50% ภายในปี 2030 คนรุ่นใหม่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา

ทราบหรือไม่ว่า: อุบัติเหตุบนท้องถนนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้คร่าชีวิตผู้คน 2,000 คนทุกวัน[1]

ทราบหรือไม่ว่า: 34% ของการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของผู้ชายในประเทศไทยและ 15% ของการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนของผู้หญิงในประเทศไทยมีสาเหตุจากแอลกอฮอล์ [2]

รายงานขององค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่าการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนอายุระหว่าง 5-29 ปีเสียชีวิต เป็น “เหตุการณ์ที่ลุกลามอย่างเงียบๆ” และสร้างความเสียหายให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหลายทศวรรษแล้ว อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โดยมากสามารถป้องกันได้

ปัจจุบัน คนหนุ่มสาว ซึ่งมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมด เป็นผู้ใช้ท้องถนนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหมายความว่า คนหนุ่มสาวมีอำนาจที่จะยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน

ปัจจัยหลักคือการรับมือกับปัญหาเมาแล้วขับ คนหนุ่มสาวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสี่ยงที่จะเมาแล้วขับมากที่สุด และเสี่ยงที่จะเมาแล้วขับมากกว่าประชากรทั่วไป 6 เท่า [3]

ทวงคืนอำนาจของคุณในการ “ไม่” เมาแล้วขับ

มีการเปิดตัวโครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่” เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 โดยมีเป้าหมายในการกระตุ้นให้มีการดำเนินการต่างๆ

หากคนหนุ่มสาวเลือกที่จะ “ไม่” เมาแล้วขับ พวกเขาก็สามารถปกป้องตนเอง คนที่พวกเขารัก และยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มพูนโอกาสในชุมชนได้ มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ) และงาน Bangkok Motorbike Festival ได้ร่วมมือกับสมาคมรถยนต์แห่งเวียดนาม (AAV) เพื่อรวมพลังกันให้ความรู้แก่คนหนุ่มสาวเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดจากการเมาแล้วขับ

โครงการรณรงค์นี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้แทนกลุ่มสุราและไวน์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APISWA) และเอเจนซี่โฆษณาแบบสร้างสรรค์ Orès โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR)  สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (US-ABC) และสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC)

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ “พลังของคำว่าไม่” ได้แก่คนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 18-30 ปีในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หกประเทศ: กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม โครงการนี้เป็นการรวมพลังกันของพันธมิตรระดับสากลกว่า 20 ราย ที่มาจากภาครัฐ NGO ภาคเอกชน และองค์กรในชุมชน เพื่อเสริมสร้างอำนาจให้คนหนุ่มสาวและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเมาแล้วขับ

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา โครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่” ที่แปลกใหม่นี้ได้เพิ่มพูนความตระหนักรู้ให้แก่คนหนุ่มสาว 39 ล้านคนในรูปแบบของคลิปวิดีโอ อินโฟกราฟฟิกที่สะดุดตา โฆษณา และเกร็ดความรู้สำคัญๆ เพื่อทำให้คนหนุ่มสาวมีความรู้เกี่ยวกับการเมาแล้วขับมากขึ้น

ในช่วงเดือนกันยายน 2022 โครงการรณรงค์นี้ได้จัดการแข่งขันประกวดภาพถ่ายระดับโลกในหัวข้อ “เพื่อนต้องไม่ปล่อยให้เพื่อนเมาแล้วขับ”

การแข่งขันครั้งนี้ได้ส่งเสริมให้กลุ่มเพื่อนร่วมมือกันหยุดพฤติกรรมเมาแล้วขับ

และทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่าจะทำอย่างไรหากครั้งต่อไปพบเห็นเพื่อนที่กำลังเมาเอื้อมไปหยิบกุญแจรถ การแข่งขันครั้งนี้ปรากฏสู่สายตาคนหนุ่มสาวกว่า 7 ล้านคน และมีการ ‘กดถูกใจ’ ‘แสดงความคิดเห็น’ และ ‘แชร์’ กว่า 450,000 ครั้ง ตลอดระยะเวลาสองเดือนผ่านทาง Facebook, Instagram, Tik Tok และ PartiPost คนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมการแข่งขันได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย เข้าใจเกี่ยวกับภาระหน้าที่ตามกฎหมาย และลองใช้เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการเมาแล้วขับ

มรดกของโครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่”

เสียงของเยาวชนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สร้างแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังที่สุด

การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลที่มีประสิทธิผลทำให้คนหนุ่มสาวไม่เพียงแต่แบ่งปันคลิปวิดีโอและรูปภาพของโครงการรณรงค์บนโซเชียลมีเดียเท่านั้น

แต่ยังแบ่งปันเรื่องราวและมุมมองส่วนตัวบนเพจของโครงการรณรงค์ด้วย ความมีใจรัก ความคิดสร้างสรรค์

และความปรารถนาของพวกเขาในการทำให้ชุมชนมีความปลอดภัยคือจุดสำคัญของโครงการริเริ่ม

“พลังของคำว่าไม่”

โครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่” เป็นโครงการที่โดดเด่นท่ามกลางโครงการรณรงค์เมาไม่ขับต่างๆ เนื่องจากเป็นแนวร่วมปฏิบัติขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยพันธมิตรจากระดับพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับโลก คุณ Greig Craft ประธานของ AA Việt Nam and FIA Region II (ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) ให้สัมภาษณ์ว่า “ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นองค์กรจากหลากหลายภาคส่วนซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างมารวมตัวกัน

แต่พวกเราทุกฝ่ายมีแรงจูงใจอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนอุดมการณ์ร่วมกัน

เพื่อทำให้คนหนุ่มสาวปลอดภัยบนท้องถนน

คนหนุ่มสาวยุคนี้มีโอกาสอย่างมากที่จะหล่อหลอมชุมชนและป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

เราภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการรณรงค์นี้

เพื่อจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนท้องถิ่นทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

คุณ Vijay Subramaniam ประธานของ APISWA และยังเป็นประธานระดับภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และการค้าปลีกภายในแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลกของ Bacardi ให้สัมภาษณ์ว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมปฏิบัติขนาดใหญ่ในวงกว้างที่ประกอบด้วยพันธมิตรที่มีเป้าหมายแน่วแน่ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

และทำให้คนหนุ่มสาวมีอำนาจในการสร้างอนาคตที่สดใสและปลอดภัยมากขึ้นให้กับตนเองและผู้อื่น” โครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่”

แสดงให้เห็นถึงพลังของการร่วมมือกันและผลกระทบของวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันที่อาจจะเกิดขึ้น

เพื่อสนับสนุนวาระระดับโลกร่วมกันในการลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน”

เจ้าหน้าที่ของโครงการรณรงค์ได้เพิ่มพูนความตระหนักรู้และกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวมีส่วนร่วม

โดยหวังว่าพวกเขาจะสามารถชักนำให้ครอบครัวและเพื่อนๆ

ให้เป็นผู้ที่ขับรถอย่างมีความรับผิดชอบและดูแลกันและกันต่อไปอีกหลายๆ รุ่นในอนาคต

ในปี 2023 คาดการณ์ว่าจะมีการขยายโครงการรณรงค์ “พลังของคำว่าไม่” ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

เพื่อส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีความรับผิดชอบในระยะยาว

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ พลังของคำว่าไม่ โปรดเข้าไปที่เพจ Facebook  หรือเว็บไซต์

พลังของคำว่าไม่ – รายชื่อพันธมิตรท้องถิ่น

กัมพูชาสมาคมรถยนต์แห่งกัมพูชา, หอการค้านานาชาติ, คณะกรรมการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนระดับประเทศของกัมพูชา, CamSafe
ลาวVientiane Rescue 1623, RDK Group, สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ณ เวียงจันทน์
มาเลเซียสมาคมสถานประกอบการยุโรปประจำมาเลเซีย สถาบันการวิจัยด้านความปลอดภัยทางถนนของมาเลเซีย กระทรวงคมนาคม
ฟิลิปปินส์สมาคมรถยนต์แห่งฟิลิปปินส์ สมาคมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งฟิลิปปินส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์
ประเทศไทยBangkok Motorcycle Festival, มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์, กองบัญชาการตำรวจนครบาล
เวียดนามสมาคมรถยนต์แห่งเวียดนาม, สมาคมการดื่มอย่างมีความรับผิดชอบแห่งเวียดนาม, สมาคมกีฬามอเตอร์สปอร์ตแห่งเวียดนาม, สมาคมสถานประกอบการยุโรปประจำเวียดนาม, Protec, สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ณ ฮานอย, สถานกงสุลอังกฤษ ณ นครโฮจิมินห์
ระดับภูมิภาคผู้แทนกลุ่มสุราและไวน์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APISWA), Ores Group Fédération Internationale de l’Automobile (FIA), สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR), สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EUABC), สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (USABC)

[1] องค์การอนามัยโลก 2018 https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

[2] องค์การอนามัยโลก 2018 https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

[3] คนหนุ่มสาว (บุคคลที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี) ในเอเชียเสี่ยงที่จะเมาแล้วขับมากกว่าคนทุกช่วงวัยโดยเฉลี่ยทั่วโลกถึง 6 เท่า ผลการวิจัยภาระโรคทั่วโลกของ IHME ประจำปี 2019 https://www.healthdata.org/gbd/2019


Image available to download here: https://drive.google.com/drive/folders/12lEXP_BzFdsrJjYZjnXkhDW_Ur1d42Rk?usp=share_link