SCG Eldercare Solution กว่าจะเป็นบ้านผู้สูงวัย

3014
SCG Eldercare Solution กว่าจะเป็นบ้านผู้สูงวัย | Creative Econ เว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society อย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ

SCG Eldercare Solution กว่าจะเป็นบ้านผู้สูงวัยปี 2557 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 10,014,699 คน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2564 ก่อนจะขยายสัดส่วนเป็นร้อยละ 30 ในอีก 20 ปีข้างหน้า

Aging Society จึงกลายเป็นตลาดใหม่ และ ตลาดใหญ่ ของทุกธุรกิจ รวมถึง SCG ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เป็นนวัตกรรมที่กลุ่ม SCG เตรียมการมาก่อนหน้านี้หลายปี ด้วยการวิจัยความต้องการและพัฒนาสินค้าตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ เกิดเป็นแบรนด์.. SCG Eldercare Solution

รัชนีกร ดวงเลขา Business Initiative Manager ให้ข้อมูลกับทีมข่าว Creative Econ ว่าเอลเดอร์แคร์ออกแบบบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญ 3 ปัจจัยหลักคือ

1.ความปลอดภัย  2.ความสะดวกสบาย และ 3.ความสวยงาม

จาก Innovative Process สู่ Innovative Solution

SCG Eldercare Solution กว่าจะเป็นบ้านผู้สูงวัยวิธีการ Innovative Process คือการประมวลผลด้วยการหาความร่วมมือจาก 2 ด้าน

ด้านที่ 1 ความร่วมมือภายในองค์กร นำนักวิจัย นักการตลาด นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักพัฒนาธุรกิจ นักสื่อสารการตลาด นักออกแบบ ฯลฯ มาระดมสมอง พัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ

ด้านที่ 2 ความร่วมมือกับภายนอกองค์กร เช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา ฯลฯ เพื่อค้นหาอารมณ์และพฤติกรรมของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการชีวิตภายในบ้าน วิเคราะห์ความต้องการที่ซ่อนเร้น อย่างเข้าใจและลึกซึ้ง ก่อนจะนำผลนั้นมาเฉลยเป็นสินค้านวัตกรรม โดยใช้คำว่า…บูรณาการความรู้สู่บูรณาการโซลูชั่น!!

แบ่งกลุ่มผู้บริโภคชัดเจน

SCG Eldercare Solution จะแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่มคือ

SCG Eldercare Solution กว่าจะเป็นบ้านผู้สูงวัยกลุ่มสีเขียว สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาวะในอนาคต หากไม่ป้องกันและดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง

กลุ่มสีเหลือง เริ่มมีการเสื่อมถอยของร่างกายหรือมีปัญหาด้านสุขภาพบ้างเล็กน้อย แต่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาจต้องการอุปกรณ์หรือผู้ช่วยเหลือในบางครั้ง

กลุ่มสีส้ม มีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางกิจกรรม ต้องพึ่งพาอุปกรณ์และผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือ

จากนั้นนำผลประมวลของทั้ง 3 กลุ่มมาออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม เช่น การออกแบบบ้านและสภาพแวดล้อม คัดสรรผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

สุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำที่ออกแบบให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม มีการวัดขนาดและสัดส่วนต่างๆ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การติดตั้งผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ห้องนอนที่ถูกดีไซน์เพื่อความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ จากปัญหาที่มักจะตื่นนอนเข้าห้องน้ำกลางดึก ไฟบริเวณที่นอนและไฟนำทางจะสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อผู้สูงอายุลุกจากที่นอน และจะดับเมื่อกลับมานอน เป็นต้น