รมช.คมนาคม เปิดท่าเรือพระราม 7 ยกระดับระบบคมนาคมทางน้ำรองรับวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

80

วันที่ 4 เมษายน 2568  เวลา 10.00 น. ดร.มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีนายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายประภูศักดิ์ จินตะเวช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม นายอำเภอบางกรวย นายยกเทศมนตรีอำเภอบางกรวย สมาคมเรือไทย สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมในพิธี ฯ ณ ท่าเรือพระราม 7 อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงสรางพื้นฐานคมนาคมทางน้ำ ด้วยการเชื่อมโยงโครงข่าย “ล้อ – ราง – เรื อ” อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยทั้งประเทศ รองรับการสัญจรทางน้ำที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ดร.มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่า ดำเนินการพัฒนาท่าเรือเป็นสถานีเรือโดยสาร  โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบขนส่งโดยสารทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสำคัญ ที่ใช้ในการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อรองรับกับการสัญจร ทางน้ำที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี  นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในการพัฒนาท่าเทียบเรือทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมเมืองและการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่มีความเร่งรีบในการเดินทาง ซึ่งโครงการก่อสร้างท่าเรือพระราม 7  เป็นความร่วมมือระหว่างกรมเจ้าท่าและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภายใต้สัญญารับทุนวิจัยพัฒนา นวัตกรรม โครงการวิจัยและพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือที่ได้รับการยกระดับให้เป็น Smart Pier โดยมีพื้นที่ใช้สอย 700 ตารางเมตร โป๊ะเทียบเรือมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เมืองและแหล่งท่องเที่ยว ออกแบบภายใต้แนวคิด ท่าเรือที่ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน มีการออกแบบรูปทรงท่าเรือให้สื่อถึงก้อนพลังงาน แสงไฟอาคารเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งวัน และการใช้ solar cell เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ระบบวัดอุณหภูมิ เพื่อคัดกรองคนมีไข้ก่อนเข้าพื้นที่ ระบบ AI จดจำใบหน้า เพื่อคัดกรองให้เฉพาะคน ที่ได้รับอนุญาตผ่านเข้าพื้นที่ มีระบบดิจิตอลทดแทน อาทิ กล้องวงจรปิดรักษา ความปลอดภัย                    ระบบนับจำนวนคนอัตโนมัติ  ตู้ KIOS และจอทีวี ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ระบบแจ้งเตือนการรับน้ำหนักโป๊ะเทียบเรือ ระบบแสงไฟอัจฉริยะ และสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ทางลาดและห้องน้ำผู้พิการ และสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger)

นายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนาท่าเรือจำนวน 29 แห่ง ปัจจุบัน กรมเจ้าท่า ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรมเจ้าท่า สะพานพุทธ นนทบุรี  สาทร ท่าช้าง ท่าเตียน ราชินี พายัพบางโพ พระราม 5 พระปิ่นเกล้า พระราม 7 อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปากเกร็ด  ความคืบหน้าโครงการ 68% คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือน พฤษภาคม 2568 ท่าเรือเกียกกาย (กทม. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง) และได้รับจัดสรรงบประมาณ ปี 2568 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือเทเวศร์  ท่าเรือโอเรียนเต็ล และดำเนินการของบประมาณ ปี 2569 จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือสี่พระยา ท่าเรือพรานนก ท่าเรือซังฮี้ ท่ารถไฟ ท่าเรือวัดตึกท่าเรือวัดสร้อยทอง ท่าเรือวัดเขมา ท่าเรือเขียวไข่กา ท่าเรือพิบูลย์สงคราม 1 ท่าเรือวัดเทพนารี ท่าเรือวัดเทพากร และท่าเรือพิบูลย์สงคราม 2                                                                    

ทั้งนี้ ท่าเรือพระราม 7 ได้พัฒนาให้เป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้ประชาชน มาโดยสารทางนํ้า เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2570 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ย 53,000 คนต่อวัน และลดก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 280,230 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และวันนี้ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ขอมอบของขวัญ ปีใหม่ไทย ด้วยท่าเรือพระราม 7 : ท่าเรือยุคใหม่ สะดวก ปลอดภัย เทคโนโลยีก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ให้กับประชาชน พร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก ปลอดภัย อันจะเป็นการยกระดับ คุณภาพของชีวิตประชาชน ให้มีความสุข ทุกเส้นทางทางน้ำอย่างยั่งยืน

ท่าเรือพระราม 7 : ท่าเรือยุคใหม่ สะดวก ปลอดภัย เทคโนโลยีก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”