บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก “ArcGIS” ในประเทศไทยมา กว่า 30 ปี เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็นไฮไลต์ของปี 2565 เพื่อการประยุกต์ใช้วิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที กุญแจสู่การบริหารจัดการหน่วยงาน พร้อมเดินหน้าพัฒนา ArcGIS ให้เป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพรองรับการจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความพร้อมและสมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน
นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งจุดย้ำเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ประชากรของโลกได้ตระหนักถึงการเผชิญกับสถานการณ์และเหตุการณ์ที่มีปัญหาหลากหลายและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยี GIS จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แน่นอนว่าปัญหาในภูมิทัศน์โลกนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน ทำให้เราต้องการเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ รวมถึงองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ รวมทั้งหาทางรับมืออย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยี GIS ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญมาประยุกต์ใช้ในการรวมรวบ จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล (Data Integration, Spatial Analysis, and Collaboration) เพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์ ช่วยในการตัดสินใจและรับมือกับปัญหาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงบุคลากร หน่วยงาน และภารกิจเข้าด้วยกัน โดยใช้ Location intelligence หรือความสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นตัวเชื่อมโยง ตลอดจนการบูรณาการทั้งระบบข้อมูล เทคโนโลยี และความร่วมมือ สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขได้ถูกต้อง นำไปสู่การบริหารจัดการประเทศองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมุมมอง บนพื้นฐานของข้อมูลทุกมิติ
“GIS เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ArcGIS จึงถูกพัฒนาให้สอดคล้องไปตามเทรนด์เทคโนโลยี GIS และบูรณาการร่วมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น Cloud Computing, การแสดงผลในรูปแบบ 3D หรือ GeoAI ไปจนถึงการทำงานด้านภาพถ่าย และ Remote Sensing ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ GIS เป็นมากกว่าการแสดงผลและการแสดงแผนที่ทั่วไป คือความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงพื้นที่ขั้นสูง ทำให้มองเห็นรูปแบบข้อมูลได้อย่างแม่นยำ สามารถวิเคราะห์คาดการณ์อนาคต อีกทั้งยังสามารถประมวลผลแบบเรียลไทม์และแสดงผลได้ในรูปแบบ Interactive นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ในรูปแบบ Big Data ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรง ทั้งนี้ การนำความสามารถของ Big Data มารวมกับ GIS ทำให้เห็นความสัมพันธ์ใหม่ ๆ บนข้อมูลที่มีอยู่เดิม” นางสาวธนพรอธิบาย
นอกจากนี้ยังเดินหน้าพัฒนา GIS ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Geospatial Infrastructure) ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านและสมบูรณ์แบบ เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ใช้งานหลากหลาย ทั้งกลุ่มนักภูมิศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน GIS กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการสร้างและใช้งานแผนที่อย่างง่าย กลุ่มนักวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ กลุ่มพัฒนาโปรแกรม และกลุ่มผู้ใช้งาน GIS เฉพาะด้าน เช่น การออกแบบผังเมือง และการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เป็นต้น โดยทำงานร่วมกันในรูปแบบ Integrated System ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับ Data หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลตาราง ข้อมูล Vector ข้อมูลราสเตอร์ (Raster) ข้อมูลจากภาพถ่ายขนาดใหญ่ และข้อมูลแบบ Real-Time เป็นต้น
สำหรับ 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็น Highlight ของปี 2565 ประกอบไปด้วย
- Spatial Analysis, Data Science & GeoAI เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เทรนด์ที่มาแรงในหลายปีที่ผ่านมา และเป็นหัวใจสำคัญของนัก GIS ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้ในการหาทำเลที่เหมาะสม หรือการทำงานด้าน Deep Learning, Machine Learning และ AI
- Ready-to-Use Contents ชุดข้อมูลพร้อมใช้งานที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมิติให้แก่การวิเคราะห์ ทั้งข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม เช่น การหาภัยพิบัติ และภาพถ่ายย้อนหลังต่าง ๆ รวมไปถึงข้อมูลเรียลไทม์ เช่น ค่า PM 2.5 จาก Sensor เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความละเอียดสูงสำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพถ่ายในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน (Change Detection) และการวิเคราะห์หาวัตถุที่สนใจบนภาพ (Object Detection)
- GIS in the Field การเก็บข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รองรับการทำงานภาคสนามแบบครบวงจรด้วยแอปพลิเคชันพร้อมใช้งาน โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันในการจ่ายงานและรับงานต่าง ๆ รวมไปถึงแอปพลิเคชันสำรวจจัดเก็บข้อมูลภาคสนาม
- Codeless App Builders การสร้างแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม เพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นด้วยแอปพลิเคชันแบบพร้อมใช้งานที่สามารถสร้างเว็บแอปพลิเคชัน พร้อมการสรุปข้อมูลในรูปแบบแผนที่ และกราฟต่าง ๆ ในรูปแบบ Dashboard ที่สวยงามและเข้าใจง่าย
- 3D & GeoBIM การทำงานด้าน 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงผลข้อมูล 3 มิติ ในรูปแบบต่าง ๆ และยังสามารถทำงานร่วมกับข้อมูลของ BIM หรือ Building Information Modeling สำหรับการบริหารจัดการอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง เช่น ข้อมูลความละเอียดสูงภายในอาคาร เป็นต้น
- Imagery and Raster GIS การทำงานด้านภาพถ่ายแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล Imagery และ ข้อมูลภาพ Raster ตั้งแต่การสร้าง การประมวลผล การจัดการ การวิเคราะห์ และการแสดงผลภาพ เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งบน Desktop, Server และบน Cloud
- Real-time & Big Data เพิ่มมิติเชิงพื้นที่ให้กับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time และ Big Data ทำให้เห็น Insights ที่น่าสนใจจากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างทันท่วงที และการนำข้อมูลปริมาณมากอย่าง Big Data มาสกัดเปลี่ยนจากข้อมูล Noise ให้กลายเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปช่วยประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Geo-Enabled Systems การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่ตอบโจทย์ Workflow การทำงานเฉพาะทาง โดยสามารถประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผังเมืองและภูมิทัศน์ การทำแผนที่ภายในอาคาร การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ และการทำงานภารกิจภาคสนามเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
- Industry-specific Data Models การทำงานกับข้อมูลเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการข้อมูลแปลงที่ดิน การทำงานกับข้อมูลโครงข่ายด้านไฟฟ้า ประปา และท่อแก๊ซ ฯลฯ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและแก้ไขแปลงข้อมูลได้อย่างง่าย ๆ โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของข้อมูล ความถูกต้อง และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้
- ArcGIS in the Cloud เพิ่มช่องทางการใช้งานระบบ GIS ผ่าน Cloud ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการติดตั้งใช้งานบน Cloud ทั้งที่เป็น Public และ Private Cloud การติดตั้งและใช้งานระบบ Enterprise GIS บน Kubernetes ในรูปแบบ Cloud Native ที่รองรับการขยายตัวของระบบได้แบบยืดหยุ่นเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่มากขึ้นได้ และชุดเครื่องมือการวิเคราะห์พื้นที่แบบง่าย ๆ ผ่าน API สำหรับนักพัฒนาในรูปแบบ Platform-as-a-Services (PaaS)
อย่างไรก็ตาม จากเทรนด์ดังกล่าว ESRI ได้เดินหน้าพัฒนา GIS เทคโนโลยี ให้สอดรับเทรนด์ในอนาคต และตอบโจทย์ทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อก้าวทันต่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งหวังเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและประเทศด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและยั่งยืน นางสาวธนพร กล่าวทิ้งท้าย