Esri เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS มาแรง ปี 2565

560

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก “ArcGIS” ในประเทศไทยมา กว่า 30 ปี เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็นไฮไลต์ของปี 2565 เพื่อการประยุกต์ใช้วิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที กุญแจสู่การบริหารจัดการหน่วยงาน พร้อมเดินหน้าพัฒนา ArcGIS ให้เป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพรองรับการจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความพร้อมและสมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน

          นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งจุดย้ำเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ประชากรของโลกได้ตระหนักถึงการเผชิญกับสถานการณ์และเหตุการณ์ที่มีปัญหาหลากหลายและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยี GIS จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แน่นอนว่าปัญหาในภูมิทัศน์โลกนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน ทำให้เราต้องการเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ รวมถึงองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ รวมทั้งหาทางรับมืออย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยี GIS ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญมาประยุกต์ใช้ในการรวมรวบ จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล (Data Integration, Spatial Analysis, and Collaboration) เพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์ ช่วยในการตัดสินใจและรับมือกับปัญหาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การพัฒนา Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงบุคลากร หน่วยงาน และภารกิจเข้าด้วยกัน โดยใช้ Location intelligence หรือความสัมพันธ์เชิงพื้นที่เป็นตัวเชื่อมโยง ตลอดจนการบูรณาการทั้งระบบข้อมูล เทคโนโลยี และความร่วมมือ สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขได้ถูกต้อง นำไปสู่การบริหารจัดการประเทศองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมุมมอง บนพื้นฐานของข้อมูลทุกมิติ

            “GIS เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ArcGIS จึงถูกพัฒนาให้สอดคล้องไปตามเทรนด์เทคโนโลยี GIS และบูรณาการร่วมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ  เช่น Cloud Computing, การแสดงผลในรูปแบบ 3D หรือ GeoAI ไปจนถึงการทำงานด้านภาพถ่าย และ Remote Sensing ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ GIS เป็นมากกว่าการแสดงผลและการแสดงแผนที่ทั่วไป คือความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงพื้นที่ขั้นสูง ทำให้มองเห็นรูปแบบข้อมูลได้อย่างแม่นยำ สามารถวิเคราะห์คาดการณ์อนาคต อีกทั้งยังสามารถประมวลผลแบบเรียลไทม์และแสดงผลได้ในรูปแบบ Interactive นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ในรูปแบบ Big Data ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรง ทั้งนี้ การนำความสามารถของ Big Data มารวมกับ GIS ทำให้เห็นความสัมพันธ์ใหม่ ๆ บนข้อมูลที่มีอยู่เดิม” นางสาวธนพรอธิบาย

            นอกจากนี้ยังเดินหน้าพัฒนา GIS ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Geospatial Infrastructure) ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านและสมบูรณ์แบบ เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ใช้งานหลากหลาย ทั้งกลุ่มนักภูมิศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน GIS กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการสร้างและใช้งานแผนที่อย่างง่าย กลุ่มนักวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ กลุ่มพัฒนาโปรแกรม และกลุ่มผู้ใช้งาน GIS เฉพาะด้าน เช่น การออกแบบผังเมือง และการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เป็นต้น โดยทำงานร่วมกันในรูปแบบ Integrated System ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับ Data หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลตาราง ข้อมูล Vector ข้อมูลราสเตอร์ (Raster) ข้อมูลจากภาพถ่ายขนาดใหญ่  และข้อมูลแบบ Real-Time เป็นต้น

            สำหรับ 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็น Highlight ของปี 2565 ประกอบไปด้วย

  1. Spatial Analysis, Data Science & GeoAI เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เทรนด์ที่มาแรงในหลายปีที่ผ่านมา และเป็นหัวใจสำคัญของนัก GIS ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้ในการหาทำเลที่เหมาะสม หรือการทำงานด้าน Deep Learning, Machine Learning และ AI
  2. Ready-to-Use Contents ชุดข้อมูลพร้อมใช้งานที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมิติให้แก่การวิเคราะห์ ทั้งข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม เช่น การหาภัยพิบัติ และภาพถ่ายย้อนหลังต่าง ๆ รวมไปถึงข้อมูลเรียลไทม์ เช่น ค่า PM 2.5 จาก Sensor เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความละเอียดสูงสำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพถ่ายในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน (Change Detection) และการวิเคราะห์หาวัตถุที่สนใจบนภาพ (Object Detection)
  3. GIS in the Field การเก็บข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รองรับการทำงานภาคสนามแบบครบวงจรด้วยแอปพลิเคชันพร้อมใช้งาน โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันในการจ่ายงานและรับงานต่าง ๆ รวมไปถึงแอปพลิเคชันสำรวจจัดเก็บข้อมูลภาคสนาม
  4. Codeless App Builders การสร้างแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม เพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นด้วยแอปพลิเคชันแบบพร้อมใช้งานที่สามารถสร้างเว็บแอปพลิเคชัน พร้อมการสรุปข้อมูลในรูปแบบแผนที่ และกราฟต่าง ๆ ในรูปแบบ Dashboard ที่สวยงามและเข้าใจง่าย
  5. 3D & GeoBIM การทำงานด้าน 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงผลข้อมูล 3 มิติ ในรูปแบบต่าง ๆ และยังสามารถทำงานร่วมกับข้อมูลของ BIM หรือ Building Information Modeling สำหรับการบริหารจัดการอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง เช่น ข้อมูลความละเอียดสูงภายในอาคาร เป็นต้น
  6. Imagery and Raster GIS การทำงานด้านภาพถ่ายแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล Imagery และ ข้อมูลภาพ Raster ตั้งแต่การสร้าง การประมวลผล การจัดการ การวิเคราะห์ และการแสดงผลภาพ เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งบน Desktop, Server และบน Cloud
  7. Real-time & Big Data เพิ่มมิติเชิงพื้นที่ให้กับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time และ Big Data ทำให้เห็น Insights ที่น่าสนใจจากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างทันท่วงที และการนำข้อมูลปริมาณมากอย่าง Big Data มาสกัดเปลี่ยนจากข้อมูล Noise ให้กลายเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปช่วยประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. Geo-Enabled Systems การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่ตอบโจทย์ Workflow การทำงานเฉพาะทาง โดยสามารถประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผังเมืองและภูมิทัศน์ การทำแผนที่ภายในอาคาร การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ และการทำงานภารกิจภาคสนามเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
  9. Industry-specific Data Models การทำงานกับข้อมูลเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการข้อมูลแปลงที่ดิน การทำงานกับข้อมูลโครงข่ายด้านไฟฟ้า ประปา และท่อแก๊ซ ฯลฯ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและแก้ไขแปลงข้อมูลได้อย่างง่าย ๆ โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของข้อมูล ความถูกต้อง และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้
  10. ArcGIS in the Cloud เพิ่มช่องทางการใช้งานระบบ GIS ผ่าน Cloud ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการติดตั้งใช้งานบน Cloud ทั้งที่เป็น Public และ Private Cloud การติดตั้งและใช้งานระบบ Enterprise GIS บน Kubernetes ในรูปแบบ Cloud Native ที่รองรับการขยายตัวของระบบได้แบบยืดหยุ่นเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่มากขึ้นได้ และชุดเครื่องมือการวิเคราะห์พื้นที่แบบง่าย ๆ ผ่าน API สำหรับนักพัฒนาในรูปแบบ Platform-as-a-Services (PaaS)

            อย่างไรก็ตาม จากเทรนด์ดังกล่าว ESRI ได้เดินหน้าพัฒนา GIS เทคโนโลยี ให้สอดรับเทรนด์ในอนาคต และตอบโจทย์ทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อก้าวทันต่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งหวังเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและประเทศด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและยั่งยืน นางสาวธนพร กล่าวทิ้งท้าย