EBC Financial Group และภาควิชาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oxford บรรยายถึงอุปสรรคต่างๆ ของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญการใช้ภาษีคาร์บอน การปฏิรูป และบทบาทของการเงิน ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน
(Oxford, United Kingdom, 11 ธันวาคม 2024) ในช่วงที่โลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และภาวะไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Oxford ร่วมกับ EBC Financial Group (EBC) จัดซีรีส์สัมมนา “นักเศรษฐศาสตร์จริงๆ แล้วทำอะไร” (What Economists Really Do) เพื่อสำรวจกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและเร่งแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบัน
โดยหัวข้อสัมมนา “เศรษฐศาสตร์มหภาคและสภาพภูมิอากาศ” ได้รับการบรรยายจากรองศาสตราจารย์ Andrea Chiavari และมีการบรรยายเกี่ยวกับ “การรักษาความยั่งยืน : การสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยืดหยุ่นของสภาพภูมิอากาศ” โดยมีรองศาสตราจารย์ Banu Demir Pakel เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมบรรยายท่านอื่นๆ ได้แก่ ดร. Nicola Ranger, ผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกลุ่มการเงินโลก และยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัย Oxford และ David Barrett, CEO ของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ทั้งสองราย ได้ร่วมกันวิเคราะห์การใช้นโยบายของภาครัฐ การเงิน และผลกระทบต่อประชาชน พร้อมให้ข้อมูลเชิงปฏิบัติและคำแนะนำที่มากกว่าการบรรยายเชิงทฤษฎี
EBC Financial Group : ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ
EBC เป็นพันธมิตรด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างเป็นทางการของ FC Barcelona และร่วมมือกับแคมเปญ “United to Beat Malaria” ขององค์การสหประชาชาติ โดยมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่เน้นความยั่งยืน, ความเท่าเทียม และการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ
การมีส่วนร่วมของ EBC ในซีรีส์สัมมนา “นักเศรษฐศาสตร์จริงๆ แล้วทำอะไร” แสดงให้เห็นถึง ความเร่งด่วนที่ต้องการเชื่อมโยงตลาดการเงินเข้ากับงานวิจัยทางวิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ ตัวแทนจาก EBC ได้เข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาแบบรูปธรรม ในการเปลี่ยนระบบการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจสามารถเติบโตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้หรือไม่?
หัวข้อหลักในการบรรยาย คือ การตระหนักถึงความมั่นคงทางการเงินและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ โดย ดร. Chiavari ได้เปิดมุมมองใหม่ เกี่ยวกับต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เขาพูดถึงการเติบโตของ GDP โลกที่มีการขยายตัวอย่างรวด ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับผลกระทบจากการใช้พลังงานฟอสซิลและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) นอกจากนี้ ดร. Chiavari ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “ต้นทุนคาร์บอนทางสังคม (Social Cost of Carbon) ” ในการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญในงานบรรยายของ ดร. Chiavari คือ ต้องการสื่อแนวคิด “ต้นทุนคาร์บอนทางสังคม” ซึ่งคำนวณต้นทุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสังคม เขากล่าวว่า “การเก็บภาษีคาร์บอน ไม่ใช่แค่ความจำเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจด้วย” ดร. Chiavari อธิบายว่า มาตรการเหล่านี้สามารถสร้างแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ มีตัวเลือกการใช้พลังงานความยั่งยืนเพิ่มขึ้น เขากล่าวเสริมว่า “คุณลองคิดดูสิครับ การเปิดเครื่องทำความร้อน คุณก็ยังได้รับความอบอุ่นเหมือนเดิม แต่ตอนนี้ต้นทุนการใช้พลังงานสูงกว่าที่เดิม”
ดร. Chiavari ขยายความเพิ่มเติมในประเด็นนี้ เกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอน โดยเน้นไปที่การปล่อยก๊าซคาร์บอน ไม่ใช่การใช้พลังงานโดยตรง “การเก็บภาษีคาร์บอน คือ การเก็บภาษีจากคาร์บอน ไม่ใช่การเก็บภาษีจากพลังงาน” เขากล่าวต่อว่า “ดังนั้น นโยบายนี้สร้างแรงจูงใจขนาดใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และตัวพวกคุณเอง รวมถึงผมด้วย เพื่อหันไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือกแทนการใช้พลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ มันไม่ใช่แค่การลดการใช้พลังงานหรือการผลิตเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกอีกด้วย”
การเชื่อมโยงนโยบายภาครัฐ การเงิน และการดำเนินการผ่านมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ
ระหว่างการบรรยาย ได้มีการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศ ผู้เข้าร่วมแต่ละท่านได้แบ่งปันความความคิดเห็น พร้อมนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิธีที่โลกจะสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสองความท้าทายนี้
ดร. Chiavari กล่าวถึงลักษณะทั่วโลกของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไม่มีพรมแดน และต้องการการแก้ไขปัญหาร่วมกันจากระดับนานาชาติ เขาได้พูดถึงความเสี่ยงของการรั่วไหลของคาร์บอน (carbon leakage) ซึ่งหมายถึงนโยบายการจัดการสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดของประเทศหนึ่ง อาจจะได้รับผลกระทบจากประเทศที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งท้ายที่สุดมันจะส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลก เพื่อลดปัญหานี้ ดร. Chiavari ได้เสนอให้มีนโยบายที่สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และครอบคลุม
ดร. Ranger เน้นย้ำถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเธอกล่าวว่า “มันไม่ใช่แค่เรื่องของต้นทุน แต่เป็นเรื่องของโอกาส” เธอได้อธิบายถึง ศักยภาพในการสร้างงานและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังสามารถรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศได้ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนแนวคิด เธอให้คำแนะนำว่า การจัดการกับสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งเสริมนวัตกรรมและความก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก นอกจากนี้ เธอยังสนับสนุนให้ลดการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยประสบการณ์ในตลาดการเงิน Barrett ให้ความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจในตลาดการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน เขาได้แบ่งปันความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาในการรับมือกับความยั่งยืน โดยกล่าวถึง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสถาบันการเงินว่า “ตลาดการเงินขับเคลื่อนโดยความต้องการที่จะทำกำไร ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุน” Barrett ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องสร้างกรอบระเบียบที่สามารถบังคับใช้ได้ โดยระบุว่า การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะนำอิทธิพลของภาคส่วนนี้ เชื่อมโยงไปสู่การรับมือกับสภาพภูมิอากาศ
Barrett แสดงความกังวลเกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยกล่าวว่า “โครงการ ESG กลายเป็นแค่การทำอย่างผิวเผิน” เขาเรียกร้องให้มีนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบจริง ๆ และมีผลกระทบที่สามารถวัดผลได้
ในการบรรยาย Barrett กล่าวถึงความเสี่ยงจากการไม่เป็นเอกภาพของทั่วโลก เขาเตือนว่า “หากอยากให้โครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน มิฉะนั้น การลดการปล่อยก๊าซในบางพื้นที่ อาจถูกชดเชยด้วยการปล่อยก๊าซที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ” คำเตือนของเขาชี้ให้เห็นว่า หากไม่มีความร่วมมืออย่างจริงจัง การรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศอาจไม่เกิดผล
ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล ภาคธุรกิจ และเอกชน ควรดำเนินการเพื่อสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และมั่นคงสำหรับทุกคน
หลังจากเสร็จสิ้นการบรรยาย ผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมบรรยายได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อขยายความเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ โดยให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับบทบาทการร่วมมือกันของภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และเอกชน ในการรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ
บทบาทของรัฐบาล: นโยบายและการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญ
ดร. Banu Demir Pakel ให้ความสำคัญของการศึกษา และการสร้างความตระหนักรู้ ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะบทบาทของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง “บทบาทของรัฐบาล คือ จุดเริ่มต้น” เธออธิบาย ถึงความจำเป็นในการให้ความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เธอชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของนโยบาย ที่ไม่เพียงแค่สนับสนุนในภาคเอกชน แต่ยังต้องให้คำแนะนำกับผู้บริโภคด้วย โดยกล่าวว่า “นโยบายเป็นการดำเนินการที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยรัฐบาลจะต้องเป็นแกนกลางขับเคลื่อนหลัก ในการวางแผนและชี้แนะการดำเนินการในทุกภาคส่วน”
เธอได้กล่าวต่อว่า “ภาคเอกชนต้องการแรงสนับสนุน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขาจะมองแค่ระยะสั้น ดังนั้น การดำเนินการของภาคเอกชนจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลมียังบทบาทที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การนำเสนอนโยบายที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคเอกชนและผู้บริโภค”
ภาษีคาร์บอน : สร้างการขับเคลื่อน
ดร. Chiavari พูดถึงบทบาทสำคัญในการแทรกแซงจากรัฐบาล โดยเฉพาะการเก็บภาษีคาร์บอน จะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ เขาอธิบายว่า การนำต้นทุนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาคำนวณในราคาพลังงาน จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคและนักลงทุนตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น
จุดเปลี่ยนแปลงเรื่องราว : การเปลี่ยนผ่านที่เป็นบวก
ดร. Ranger แสดงความคิดเห็นต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกี่ยวกับการรับมือกับสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า ปัญหาสำคัญมาจากการขาดความตระหนักรู้ “ตอนนี้เราพบปัญหาอย่างมาก และฉันคิดว่าหลายส่วนมาจากปัญหาด้านการรับรู้” เธอกล่าวต่อว่า “รัฐบาลมีบทบาทในการขับเคลื่อน แต่หากขาดการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาด ทั้งในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานและสุขภาพของประชาชน นี่อาจปัญหาหลัก ณ ตอนนี้”
ดร. Ranger วิจารณ์เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอถึงปัญหาที่บอกว่า นโยบายพลังงานสะอาดต้องใช้งบประมาณมหาศาล เธอกล่าวว่า “ฉันไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพราะมันไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและไม่มีหลักฐานการลงทุนที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เรารู้ตอนนี้ คือ วิธีที่เราจะรับมือกับปัญหานี้กำลังทำให้มันยาก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากนโยบายของภาครัฐ ส่งผลให้การลงทุนชะลอตัวและเพิ่มต้นทุน ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามีนโยบายที่ถูกต้องและวางแผนที่ชัดเจนให้กับนักลงทุน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่จะมีต้นทุนต่ำ แต่ยังเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์อย่างมาก”
เธอได้พูดถึง การลงทุนในพลังงานฟอสซิล และกล่าวว่า หากเปลี่ยนทิศทางการลงทุนเหล่านี้ ก็สามารถช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นได้ “ทั่วโลกได้ใช้เงินจำนวนมากในการลงทุนพลังงานฟอสซิล ประมาณ 5 – 7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ถ้าเราหยุดการซื้อพลังงานนี้ และนำเงินไปลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เราก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านพลังงานเหล่านี้ได้”
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ดร. Ranger เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในสังคม เพื่อหาโอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตจากการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ เธอยังกล่าวถึง บทบาทสำคัญของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยกล่าวว่า “เราต้องทำให้ผู้คนเห็นว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงในทางบวก และนโยบายที่ดีจากภาครัฐ จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ”
ดร. Ranger กล่าวสรุป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนมุมมองใหม่ โดยกล่าวว่า “สิ่งที่ฉันอยากเห็น คือ รัฐบาลออกมาสนับสนุน และบอกว่านี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และจะเป็นประโยชน์กับประชาชนและนักลงทุนทุกคน”
บทบาทของภาคธุรกิจและเอกชน: ความรับผิดชอบและนวัตกรรม
Barrett มองว่า ภาคธุรกิจและภาคเอกชน มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยเขาชี้ให้เห็นว่า ภาคการเงินมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นผลกำไรเป็นหลัก และจะไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาความยั่งยืนได้ หากไม่มีกรอบระเบียบที่ชัดเจน เขากล่าวว่า “ตลาดการเงินไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับแรงจูงใจจากภาครัฐ” เขายังเสริมว่า หากภาคการเงินได้รับการชี้นำในทิศทางที่ถูกต้องและเริ่มมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับปัญหานี้ เราเชื่อว่าการผลักดันเรื่องนี้ จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แต่ต้องการนโยบายที่ชัดเจน
Barrett ยังได้สะท้อนถึงบทบาทของประชาชน ในฐานะผู้ลงคะแนนเสียงและผู้บริโภค โดยเน้นว่า อำนาจเสียงของพวกเขา มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายและพฤติกรรมของบริษัท “นโยบายต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ ถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา” เขากล่าวต่อว่า การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่ยั่งยืนและการเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จะทำให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้
แม้ว่า Barrett จะวิจารณ์ลักษณะการทำงานของ ESG แต่เขาก็ยังมองในแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพของการเงิน “การเงินสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเหลือเชื่อ” เขากล่าว “มันสามารถแก้ปัญหาได้จริงๆ แต่ต้องการแรงสนับสนุนที่ถูกต้องและการอธิบายอย่างตรงไปตรงมา ว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง?” เขาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากวงจรการเมืองที่มองถึงปัญหาระยะสั้นให้มองไปสู่การพัฒนาระยะยาว และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศ
รับชมซีรีส์สัมมนาฉบับเต็ม ในหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์มหภาคและสภาพภูมิอากาศ” รวมถึงการบรรยายหลักและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้ที่ https://youtu.be/MD5vaMjQdkc