ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้รวบรวมข้อมูลประกาศของแต่ละจังหวัดมาให้ประชาชนได้รู้กันผ่านเว็บไซต์ http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/ โดยมีวิธีการดูง่ายๆคือ ในเว็บไซต์ http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/ จะมีรูปแผนที่และชื่อจังหวัด แค่คลิกไปที่จังหวัดก็จะมีข้อมูลขึ้นมาให้ครบทั้งประกาศจังหวัด, มาตราการการเข้าออกจังหวัด, ข้อมูลสถานการณ์, ช่องทางติดต่อและข่าวการดำเนินการของจังหวัด
ภัทรลิสซิ่ง ปรับกลยุทธ์ปี 64 ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รุกการบริการและช่องทางการขายเน้นออนไลน์รับยุค New Normal
นายพิภพ กุนาศล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ภัทรลิสซิ่ง(PL) เปิดเผยทิศทางในการดำเนินงานพร้อมประกาศความมุ่งมั่น ตั้งเป้าหมายที่เติบโตและท้าทาย รวมถึงปรับกลยุทธ์เพิ่มความหลากหลายในทรัพย์สินให้เช่าแบบลิสซิ่ง มองเห็นโอกาสเติบโตเพราะตลาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากบริษัทต่างๆยังมีความต้องการใช้ทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจ แต่ต้องโตอย่างระมัดระวังเพื่อลดโอกาสการเกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL (Non-performing Loan) ในอนาคต
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2564 นี้ บมจ.ภัทรลิสซิ่ง (PL) ให้ความสำคัญกับการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมที่มีศักยภาพ และยังมุ่งเน้นการขยายประเภททรัพย์สินให้เช่าแบบลิสซิ่ง ควบคู่ไปกับการพิจารณาเครดิตและความเสี่ยงต่างๆ อย่างระมัดระวัง ซึ่งภัทรลิสซิ่งมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการกว่า 1,000 บริษัท โดยมีทรัพย์สินประเภทต่างๆ ในการดูแลกว่า 10,000 Units มีการกระจายความเสี่ยง (diversify) อย่างต่อเนื่องไปยังทรัพย์สินให้เช่าประเภทใหม่ๆ ที่หลากหลายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Equipment) หรือ ทรัพย์สินที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีทางเลือกในการแข่งขันมากขึ้น
นอกจากนี้ภัทรลิสซิ่งได้ปรับกลยุทธ์ด้านการบริการกับลูกค้า ภายใต้นโยบาย...
โควิด-19 ยุคทองขายของออนไลน์...พาณิชย์แนะพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ ต้องขายจุดเด่นของตัวเอง รักษาตัวตน สร้างความน่าเชื่อถือ และต้องไม่หยุดพัฒนา เตือน!!! คู่แข่งมีจำนวนมากขึ้น ลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มขึ้น ราคาและการบริการจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งราคาสินค้าและอัตราค่าส่งสินค้า เกิดการเปรียบเทียบคุณสมบัติผู้ค้า ความน่าเชื่อถือ สินค้า แพคเกจจิ้ง ราคา การขนส่งที่รวดเร็ว และการสื่อสารกับลูกค้า...ผู้ขายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมีโอกาสเติบโตและทำกำไรระยะยาว พร้อมเชิญชวนลงทะเบียนขอรับเครื่องหมาย DBD Registered สร้างความมีตัวตนในโลกออนไลน์ สร้างโอกาสและความได้เปรียบทางการตลาดให้ธุรกิจ
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เป็นยุคทองของการค้าออนไลน์อย่างแท้จริง เนื่องจากคนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรค ประกอบกับการสั่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันมีองค์ประกอบเกื้อหนุนที่ช่วยให้การซื้อสินค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น การจ่ายเงินผ่านระบบ e-Payment ผู้ให้บริการขนส่งมีให้เลือกหลากหลาย ผู้ค้าในตลาดมีเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพและราคา ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบและเลือกซื้อสินค้า/บริการจากผู้ขายที่มีคุณสมบัติเหมือนกันแต่ราคาย่อมเยากว่า และเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ได้อย่างโดนใจ”
“การขายสินค้าออนไลน์ให้ได้รับผลกำไรและอยู่ในธุรกิจระยะยาวต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดี เนื่องจากปัจจุบันตลาดออนไลน์มีคู่แข่งจำนวนมาก มีช่องทางการขายที่หลากหลายทั้งบนเว็บไซต์เฉพาะ แพลตฟอร์มอี-มาร์เก็ตเพลส หรือช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งทุกช่องทางล้วนแล้วแต่มีกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน แต่ก็มีโอกาสที่กลุ่มลูกค้าจากช่องทางหนึ่งจะไปเปรียบเทียบราคาหรือคุณภาพสินค้ากับอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อให้ได้สินค้าและราคาที่โดนใจมากที่สุด รวมถึงความพึงพอใจที่ได้รับจากผู้ค้า เช่น ความน่าเชื่อถือ...
จากภาวะวิกฤตไวรัสโคโลน่าโควิด – 19 ระบาดไปทั่วโลกอย่างหนัก ทุกธุรกิจได้รับผลกระทบหมด โดยเฉพาะธุรกิจอสังริมทรัพย์ รวมไปถึงธุรกิจการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้เรียนกันที่บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจด้านร้านอาหารก็ต้องปรับตัวสู่บริการสั่งซื้อรูปแบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีบางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวก เช่น เกษตรกรรม ที่มียอดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประชาชนยังต้องการอุปโภคบริโภคสินค้าเกษตรกรรมอยู่เสมอ รวมทั้งการเก็บสำรองไว้ใช้ในยามภาวะฉุกเฉินหรือการขยายประกาศพระราชกำหนดให้ประชาชนอยู่ภายในบ้านออกไปอีก
ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวว่า “วิกฤตโรคระบาดของไวรัสครั้งนี้ทุกธุรกิจได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีหลังจากวิกฤตครั้งนี้จะเป็นธุรกิจการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอาหารพร้อมรับประทาน ไปยังต่างประเทศ เป็นธุรกิจที่ยังได้เปรียบสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากการผลิตและวัตถุดิบทรัพยากรที่มีคุณภาพ ส่วนภายในประเทศจะเป็นการขนส่งธุรกิจอาหาร ผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับกลุ่มลูกค้าที่ทำงานภายในบ้าน ธุรกิจอาหารเองที่สามารถบริการส่งถึงบ้านได้จะเป็นการตอบโจทย์ต่อไปในอนาคตที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างมาก อยากให้นักธุรกิจปรับตัวด้านการหาลูกค้าและการใช้นวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของการขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น จากหลายประเทศที่ในช่วงวิกฤตพบว่าเศรษฐกิจยังเติบโตค่อนข้างช้า กลุ่มลูกค้ายังมีความเสี่ยงต่อการใช้เงิน ไม่กล้าที่จะใช้เงินหรือลงทุนอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นภาคธุรกิจเองจะต้องปรับตัว เพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ดังกล่าว โดยจะต้องปรับตัวในเรื่องของหาช่องทางที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์และการรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตร (Alliance) ในการทำธุรกิจเพื่อที่จะเสริมจุดแข็งและลบจุดด้อยให้กับองค์กร หรืออาจปรับลดหน่วยงานบางส่วนภายในองค์กรลง โดยการจ้างที่ปรึกษาภายนอก เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายบางส่วนให้กับธุรกิจต่อไปในอนาคต”
“ในธุรกิจกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีจะต้องมุ่งปรับตัวในเรื่องของการแข่งขัน เนื่องจากว่าธุรกิจได้รับผลกระทบจากไวรัส - 19 ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการเองจะต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งมีแนวโน้มต่อเนื่องอีกหลายเดือน จากตัวอย่างประเทศจีนหรือไต้หวัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยมากนัก ทำให้ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวเอง ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองกับผู้บริโภคที่ทำงานภายในบ้านหรือกับลูกค้าที่มีกิจวัตรประจำที่ทำภายในบ้านหรืออาคารเพิ่มมากขึ้น ในธุรกิจเอสเอ็มอีที่ยังไม่มีเงินทุนสำรองในปัจจุบัน...
นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘โควิด-19’ ดันยอดสั่งสินค้าออนไลน์ในประเทศโตสวนกระแสถึง 80% ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งแออัด หันไปเลือกสั่งสินค้าออนไลน์ แนะธุรกิจขนส่งเตรียมพร้อมรับมือใช้เทคโนโลยีจัดการและติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์ พร้อมการกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่เสี่ยงบนแผนที่ (Geofence) รับมือการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อบริหารการจัดส่งสินค้า เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่ง ในกรณีเกิดปัญหากับเส้นทางจัดส่งสามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘โควิด-19’ ที่กำลังระบาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งที่มีผู้คนแออัดและใช้บริการจัดส่งแทน โดยสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดปริมาณการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าในเวลาปกติอย่างมาก สอดคล้องกับผลสำรวจของ กสทช. เปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน แอพฯ ของสำนักงานกสทช. จำนวน 2,554 คน พบว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2563 เกินกว่า 80% โดยสัดส่วนที่โตขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น
“ภายใต้วิกฤติดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อปัจจัยบวกที่ถือว่าเป็นโอกาสต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง จากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การบริการจัดส่งด่วนมีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของทั้งผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และธุรกิจขนส่งที่จะเตรียมความพร้อมรับมือทั้งในเรื่องปริมาณการจัดส่งสินค้าจากระบบออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับบริการที่รวดเร็ว...