Business Matching ในงาน “การค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์  ไทย-จีน”

508

โอกาสของผู้ประกอบการไทย ได้พบปะผู้บริหารและกลุ่มทุนจีนที่สนใจมาลงทุนในประเทศไทยในงาน “การค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน” ณ สโมสรทหารบก วันที่ 28 เมษายน 2567

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยและจีนมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแรงและส่งเสริมการพัฒนาของกันและกันอย่างต่อเนื่อง จีนเป็นหนึ่งในพันธมิตรการค้าและการลงทุนสำคัญของไทย โดยมีการลงทุนจากจีนเข้ามาในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมในไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ทั้งนี้การค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศยังได้รับการสนับสนุนจากข้อตกลงการค้าอย่างยิ่ง เช่น การเข้าร่วมในชุดข้อตกลงการค้าอย่าง RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าอุดมคติที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการเข้าร่วมของทั้งจีนและประเทศอาเซียนและประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีการสร้างพื้นฐานโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการค้าและการลงทุนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (Economic Corridor) ระหว่างประเทศสองประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ที่สะดวกสบายและเข้าถึงการค้าและการลงทุนในทั้งสองภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน

สมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน จึงได้จัดงาน “การค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน” ร่วมกับหอการค้าซูโจในเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 28 เมษายน 2024 ณ สโมสรทหารบก ที่เป็นการพบปะระหว่างกลุ่มทุนจีนที่สนใจลงทุนในประเทศไทยกับผู้ประกอบการไทย Businesses Matching เพื่อเป็นการ ส่งเสริมการค้าการลงทุน ส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่าง ไทย-จีน ด้วยการ

– สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ระหว่างหอการค้าจีนซูโจในเซี่ยงไฮ้ ผ่าน MOU บันทึกความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าการลงทุนและความสัมพันธ์ ไทย-จีน กับทางสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

– ช่วยเหลือส่งเสริมนักธุรกิจจีนมาลงทุนในประเทศไทยอย่างเหมาะสมและถูกต้อง ภายใต้มาตรการส่งเสริมของภาครัฐ

– ช่วยเหลือนักธุรกิจไทยในการขยายธุรกิจ การร่วมทุนของนักลงทุนจีน การเพิ่มทุน การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ การทำ EPC, PPA การเพิ่ม Supplier, Partner รวมถึงการนำสินค้าไปขายในประเทศจีน

– ช่วยเหลือผู้ประกอบการจีนและไทยในเข้าเข้าดำเนินร่วมทุน จัดทำ Due diligence, Feasibility Study and Business Plan อย่างเป็นระบบ

– ช่วยเหลือสนับสนุนในการจัดทำ BOI

– ช่วยเหลือสนับสนุนในการจัดทำมาตราฐาน ISO, มอก. , อย. ใบอนุญาตต่าางๆ, และการจัดทำ Fee Zone

– ช่วยเหลือส่งเสริมการนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์

– ช่วยเหลือส่งเสริมสังคมในทุกๆด้าน

– ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้เป้าหมาย ESG

รายละเอียดของงาน

สถานที่จัดงาน ณ สโมสรทหารบก ในวันที่ 28 เมษายน 2567 เวลา 12.30-21.00 จัดงานโดยสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

กำหนดการ

12.30-13.30 ลงทะเบียนเข้าร่วมงานการค่าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

13.30-13.40 เปิดตัวแนะนำสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

13.40-13.50 นายกสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน กล่าวตอนรับคณะผู้บริหารและนักลงทุนจากประเทศจีน และวัตถุประสงค์ของงาน

13.50-14.00 ประธานหอการค้าซูโจในเซียงไฮ้ หรือตัวแทนคณะผู้บริหารและนักลงทุนกล่าววัตถุประสงค์ของการมาเยือนในครั้งนี้

14.00-14.30 เป็นพิธีการทำ MOU ความร่วมมือระหว่างสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน กับ หอการค้าซูโจในเซี่ยงไฮ้

14.30-16.30 Business Matching การแนะนำธุรกิจและความต้องการลงทุนของกลุ่มทุนจีนและการแนะนำโครงการฯ ที่ต้องการผู้ลงทุนจากผู้ประกอบการไทย

16.30-18.30 การประชุมแบบแยกกลุ่มตามนัดหมาย

18.30-21.00 รับประทานอาหารค่ำ (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นประธานในงานเลี้ยง)

ปัจจุบันทางกลุ่มทุนจีนสนใจลงทุนในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

1. ธุรกิจพลังงานสะอาด Solar cell, Wind Energy, EV Chargers, Battery Storage

2. ธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล WtE

3. ศูนย์บริหารจัดการกากอุตสาหกรรม Industry Waste

4. ศูนย์บริหารจัดการเกษตรแบบครบวงจร Silo, Bio Agriculture, Trading

5. ธุรกิจกัญชากัญชงแบบครบวงจร Cannabis, Hemp and Products concern

6. ธุรกิจซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบครบวงจร

Verify Carbon Credit, Certification, Trading

7. ธุรกิจ Crypto Exchange, Crypto

8. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Building Mix Use, Condominium, Residential

9. ธุรกิจโรงงานเชือดไก่ Chicken Cutting

10. ธุรกิจเหมืองแร่ Mine

11. ธุรกิจการสกัดแร่ธาตุ Mineral extraction

12. ธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ Recycle Battery

13. ธุรกิจเมืองแห่งการถ่ายทำภาพยนตร์ City of filming

14. ธุรกิจซื้อขายทุเรียน Durian

15. ธุรกิจซื้อขายข้าว Rice

16. ธุรกิจ Bio technology

17. ด้านการเกษตร Agriculture

18. การจัดส่งผลไม้ไทยส่งออกไปยังต่างประเทศ Export

19. การผลิตอาหารสำหรับส่งออก food production

20. โรงงานแปรรูปผลไม้สดและส่งออก fruit processing factory

21. การค้าขายเหล็ก steel trade

22. การจัดตั้งโรงพยาบาลแบบครบวงจร Hospitals

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมงานการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

1. ต้องเป็นสมาชิกสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน การสมัครสมาชิกสมาคมฯ นั้นมีค่าสมาชิกประจำปี แบบนิติบุคล 20,000 บาท/ปี แบบบุคคลธรรมดา 4,000 บาท / ปี

2. แจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมงาน

2.1 แบบทั่วไป สามารถแจ้งวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางสมาคมฯ สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์และในวันงานสามารถนำ Roll up มาแสดงและแนะนำตัว มีค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ต่อ ธุรกิจผู้เข้าร่วมงานได้ 2 ท่าน

2.2 แบบ VIP สามารถแจ้งวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางสมาคมฯ สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์และในวันงานสามารถนำ Roll up มาแสดงและแนะนำตัว สามารถจัดทำ VDO แนะนำบนเวทีเกี่ยวกับธุรกิจและโครงการ มีค่าใช้จ่าย 20,000 บาท ต่อ ธุรกิจผู้เข้าร่วมงานได้ 2 ท่าน หากท่านต้องการให้สมาคมฯ ช่วยจัดทำ VDO คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม 10,000 บาท

สนใจเข้าร่วมงาน ได้ที่ https://www.facebook.com/share/p/btznVkzCp4JffyTP/?mibextid=WC7FNe

– สมัครเป็นสมาชิกสมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน

QR Code Google form

– สมัครเข้ารวมงาน การค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน QR Code Google form

สมาคมการค้าการลงทุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย-จีน มุ่งมั่นพัฒนาสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เกิดการแบ่งปันในสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน