ดัชนีการสร้างชาติ ไทยตก 2 อันดับ อยู่ที่ 52 ของโลก และที่ 4 อาเซียน ตามหลังเวียดนาม เหตุการเมืองยุ่ง ทุนมนุษย์ และการศึกษาแย่ ขณะที่ดัชนีการจัดการภาวะวิกฤต อันดับคงที่ อยู่ที่ 33 ของโลก ที่ 2 อาเซียน และดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต อันดับ 54 ของโลก ที่ 6 อาเซียน’
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ จัดแถลงผลการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ ดัชนีการจัดการวิกฤต และ ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต ประจำปี 2021 เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ในการประชุมนานาชาติเพื่อการสร้างชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2021 ภายใต้หัวข้อ ‘นวัตกรรมยุทธศาสตร์การฟื้นจากวิกฤตและการสร้างชาติ’ ซึ่งสถาบันการสร้างชาติได้จัดขึ้น โดยเป็นการประชุมทางไกลที่มีวิทยากรกว่า 50 คน จาก 20 ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วโลกกว่า 2,000 คนจาก 50 ประเทศทั่วทุกทวีป
ประธานสถาบันการสร้างชาติ เปิดเผยเบื้องหลังการจัดทำดัชนีทั้ง 3 เอาไว้ว่า การจัดทำดัชนีเพื่อวัดเรื่องต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานได้ ช่วยนำพาองค์กรและประเทศชาติสู่ความสำเร็จ เนื่องจากทำให้เข้าใจสถานะที่แท้จริงของเรื่องต่างๆ ด้วยเหตุนี้สถาบันจึงตั้งใจที่จะพัฒนาดัชนี เพื่อจะเข้าใจสถานะและขับเคลื่อนการสร้างชาติ การบริหารวิกฤต และการฟื้นจากวิกฤตในปัจจุบัน
ดัชนีการสร้างชาติ (Nation Building Index) มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสำเร็จในการสร้างชาติโครงสร้างดัชนีครอบคลุมปัจจัยที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการสร้างชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยตั้งอยู่บนฐานของแบบจำลองที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทั้งตัวแปรเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ถ่วงน้ำหนักแต่ละตัวแปรโดยการคำนวณอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ แทนการใช้ดุลยพินิจ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ
ส่วนดัชนีการจัดการวิกฤต (Crisis Management Index) มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของประเทศในการลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤต และการจัดการกับวิกฤตต่างๆ ขณะเกิดและหลังเกิดวิกฤตของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต (Crisis Recovery Management Index) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อวัดความเหมาะสมของการจัดการของประเทศเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต โดยในปีนี้เป็นกรณีของวิกฤตโรคโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ดัชนีถูกจัดทำขึ้นโดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของภาครัฐต่อการระบาดของโรค ว่าเหมาะสมต่อเหตุการณ์เพียงใด โดยจะต้องไม่เข้มงวดหรืออ่อนจนเกินไป เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างเป้าหมายด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาประสิทธิผลของการจัดการโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ของการจัดการ แหล่งข้อมูลที่สำคัญได้มาจากฐานข้อมูล Oxford COVID-19 Government Response Tracker ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
“ดัชนีทั้งสามประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ถูกเลือกมาโดยการสำรวจวรรณกรรมทางวิชาการและการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากองค์กรระหว่างประเทศที่น่าเชื่อถือ” ดร.แดน ระบุ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ชี้แจงผลการจัดอันดับของดัชนีทั้ง 3 ว่า
ผลการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ 113 ประเทศ พบว่า สิงคโปร์ได้อันดับที่ 1 ของโลก โดยมีคะแนนร้อยละ 74 และประเทศที่ติดอันดับ 2 ถึง 10 เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด ยกเว้นญี่ปุ่นที่อยู่ในอันดับที่ 7 ส่วนไทยได้คะแนนร้อยละ 48.3 อยู่ในอันดับที่ 52 ของโลก ตกจากอันดับที่ 50 ในปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 4 รองจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เปรียบเทียบดัชนีการสร้างชาติของไทยและเวียดนาม พบว่า ตัวชี้วัดที่ไทยมีคะแนนต่ำกว่า คือ เสถียรภาพทางการเมือง ทุนมนุษย์ และคุณภาพการศึกษา ส่วนตัวแปรที่มีคะแนนสูงกว่า คือ ความเป็นเมือง ประสิทธิผลของภาครัฐ การส่งออกของสินค้าที่มีเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐาน
ขณะที่ผลการจัดอันดับดัชนีการจัดการวิกฤต 70 ประเทศทั่วโลก และ 4 ประเทศในอาเซียนที่มีข้อมูล พบว่า อันดับ 1 ของโลก คือ สวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วย สหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับ 33 ของโลก อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย (อันดับ 16 ของโลก) โดยสาเหตุที่ไทยได้คะแนนน้อยเนื่องจาก ไทยมีคนทำงานนอกระบบขนาดใหญ่ ทำให้ขาดตาข่ายรองรับทางสังคม เพื่อรองรับเมื่อเกิดวิกฤต
ส่วนดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต จัดอันดับ 174 ประเทศทั่วโลก พบว่า อันดับ 1 ของโลก ได้แก่ จีน ตามด้วย แทนซาเนีย ไต้หวัน เยเมน และ ไนเจอร์ ตามลำดับ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 54 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยสาเหตุที่ไทยได้คะแนนปานกลาง เนื่องจากไทยใช้นโยบายที่ยังไม่เข้มงวดเพียงพอในช่วงที่มีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากในระยะหลัง
“การสร้างชาติจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดในการประเมินและติดตามผลการสร้างชาติ ยิ่งหากเราได้ตัวชี้วัดที่ดี จะทำให้เรามีโอกาสการสร้างชาติประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น” ดร.แดน กล่าวสรุป
ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากการจัดอันดับดัชนีการสร้างชาติ
Rank (Change from last year) | Country | Total Score (%) | Economic Score (%) | Social Score (%) | Political Score (%) |
1 (0) | Singapore | 74.0 | 73.9 | 58.7 | 97.3 |
2 (0) | Sweden | 71.5 | 64.7 | 70.0 | 90.7 |
3 (-3) | Norway | 70.8 | 61.8 | 72.0 | 91.5 |
4 (0) | Finland | 70.6 | 63.5 | 69.1 | 90.7 |
5 (+2) | Switzerland | 70.5 | 62.6 | 69.0 | 92.5 |
ดัชนีการสร้างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน
Rank (Change from last year) | Country | Overall Score (%) | Economic Score (%) | Social Score (%) | Political Score (%) |
1 | Singapore | 74.0 | 73.9 | 58.7 | 97.3 |
39 (0) | Malaysia | 54.5 | 54.9 | 48.6 | 62.3 |
42 (-2) | Vietnam | 52.8 | 57.3 | 47.7 | 49.1 |
52 (-2) | Thailand | 48.3 | 53.1 | 40.8 | 47.5 |
61 (-1) | Indonesia | 46.5 | 47.6 | 44.5 | 46.6 |
72 (-4) | Philippines | 43.6 | 45.4 | 41.9 | 41.5 |
81 (+1) | Cambodia | 41.0 | 39.3 | 46.7 | 36.5 |
84 (-2) | Myanmar | 40.4 | 41.4 | 45.7 | 29.8 |
ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากดัชนีการจัดการวิกฤต
Rank | Country | Economic stability | Gov. Effectiveness | Social safety net | Health | Disaster management | Total score |
1 | Switzerland | 16.4 | 18.8 | 18.2 | 7.8 | 10.0 | 71.2 |
2 | United States | 15.0 | 16.9 | 19.2 | 10.6 | 6.7 | 68.4 |
3 | Germany | 15.8 | 17.3 | 18.8 | 7.5 | 8.7 | 68.1 |
4 | Japan | 15.8 | 17.3 | 18.3 | 7.2 | 9.3 | 67.9 |
5 | Sweden | 16.0 | 18.3 | 18.7 | 7.2 | 7.3 | 67.6 |
ดัชนีการจัดการวิกฤตในกลุ่มประเทศอาเซียน
World Rank (Change from last year) | Country | Economic stability | Gov. Effectiveness | Social safety net | Health | Disaster management | Total Score |
16 (-1) | Malaysia | 15.1 | 14.8 | 15.4 | 3.1 | 7.3 | 55.8 |
33 (0) | Thailand | 15.8 | 12.0 | 9.8 | 3.1 | 7.3 | 48.1 |
42 (0) | Indonesia | 15.9 | 11.3 | 10.0 | 2.6 | 6.0 | 45.7 |
67 (+2) | Laos | 14.2 | 7.1 | 3.2 | 2.2 | 3.3 | 30.0 |
หมายเหตุ : กรณีประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ข้อมูลไม่เพียงพอในการคำนวณ
ประเทศที่ได้อันดับ 1 – 5 จากดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤต
Rank | Country | Index Score |
1 | China | 63.5 |
2 | Tanzania | 62.9 |
3 | Taiwan | 54.1 |
4 | Yemen, Rep. | 45.9 |
5 | Niger | 38.9 |
6 | Tajikistan | 38.3 |
7 | South Sudan | 37.2 |
8 | Uzbekistan | 37.0 |
9 | Liberia | 36.5 |
10 | Sierra Leone | 35.4 |
11 | Haiti | 35.2 |
12 | Bhutan | 34.9 |
13 | Chad | 34.8 |
14 | Singapore | 33.5 |
15 | Australia | 32.8 |
ดัชนีการจัดการเพื่อฟื้นตัวจากวิกฤตในกลุ่มประเทศอาเซียน
World Rank | Country | Index Score |
14 | Singapore | 33.5 |
19 | Vietnam | 31.2 |
25 | Cambodia | 29.1 |
48 | Indonesia | 17.4 |
53 | Philippines | 16.2 |
54 | Thailand | 16.0 |
64 | Malaysia | 14.8 |
88 | Myanmar | 10.3 |
158 | Lao PDR | 3.0 |
NA | Brunei Darussalam | Not enough samples |