ศูนย์IDE Center ม.หอการค้าไทย จัดเวิร์คช็อปออนไลน์สร้างเครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชน

1059

เมื่อเร็วๆนี้ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดเวิร์คช็อปออนไลน์ โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร IDE และผศ. ดร. ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ IDE Center มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ให้กับเครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนทั่วประเทศ (IDE Node) ในหัวข้อ การสร้างโอกาสของผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม (Use the Opportunity Canvas to Design IDE Innovations)

ดร.เอ็ดเวิร์ด รูเบซ ผู้อำนวยการหลักสูตร IDE ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า “การจัดเวิร์คช็อปออนไลน์ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมชุมชนทั่วประเทศ ได้เรียนรู้การออกแบบแผนภาพโอกาส (Opportunity Canvas) ร่วมกัน โดยการคำนึงถึง ประการแรกที่สำคัญ คือ การส่งมอบคุณค่าสำหรับใครเป็นสำคัญ ต่อมาคือ วีธีการทำอย่างไร การคิดค้นและพัฒนาสินค้าใหม่ แต่ความจริงแล้วการวิจัยและพัฒนาสามารถริเริ่มได้จากตนเอง สิ่งเล็กๆ รอบตัว อาจจะเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรม กิจกรรม หรืออะไรก็ได้ที่ใหม่และน่าสนใจ และส่วนสุดท้ายคือทรัพยากรและขีดความสามารถ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการลองค้นหาทรัพยากรและขีดความสามารถใหม่ๆ การมองหากำลังคนที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน เพราะโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการ คือ การประกอบสิ่งใหม่เข้าด้วยกัน”

การจัดเวิร์คช็อปออนไลน์ในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) เครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมในชุมชนทั่วประเทศ (IDE Node) หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ผู้ประกอบการในท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของการสื่อสารออนไลน์เพิ่มขึ้น แม้จะอยู่ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แต่นั้นก็ไม่ใช่ข้อจำกัดของการเรียนรู้ เพราะผลตอบรับจากการจัดเวิร์คช็อปออนไลน์นี้ ทำให้เกิดการสนับสนุนและพลักดันเครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมในชุมชนต่างๆ ผู้ร่วมอบรมจะได้เรียนรู้เนื้อหาที่เข้มข้นประกอบด้วย 3 หัวข้อที่สำคัญ ดังนี้

หัวข้อที่ 1 บทเรียนเริ่มต้นด้วยกันการสร้างแผนภาพโอกาส (Opportunity Canvas) สำหรับการทำนวัตกรรมฉบับไอดีอี (IDE) โดยแบ่งออกเป็นการทำนวัตกรรมในด้านต่างๆ จากกรณีศึกษาของร้านสะดวกซื้อ โดยมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ (1) คุณค่า (Value) คือ การสร้างและส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้าและบริการ (2) สำหรับใคร (Whom) ลูกค้าที่จะซื้อสินค้าและบริการ (3) ทำอย่างไร (How) คิดค้นและพัฒนาสินค้าใหม่ สามารถริเริ่มได้จากตนเอง สิ่งเล็กๆ รอบตัว เช่น การสังเกตและการทดลองขนาดเล็ก จากกระบวนการเดิมเป็นกระบวนการใหม่ และ (4) ทรัพยากรและขีดความสามารถ (Resource and Capability) โดยการลองค้นหาทรัพยากรและขีดความสามารถใหม่ๆ ที่คนอื่นๆ มองข้ามไปย่อมสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้

หัวข้อที่ 2 ต่อด้วยการออกแบบความคิดเพื่อสร้างแผนภาพแห่งโอกาส (Opportunity Canvas Design Thinking) ซึ่งเรียกได้ว่านี่ คือ การเริ่มต้นของการหาไอเดียที่ว้าว และรวมไปถึงการได้ลงมือทดลองทำ Business Model Canvas มั่นฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับการที่ต้องมั่น Explores Forever ซึ่งผู้ร่วมอบรมทุกท่านจะได้ช่วยกันสร้างการออกแบบประสบการณ์ใหม่ สำหรับผู้ประกอบการในท้องถิ่นอยากทำบางสิ่งบางอย่าง โดยการเปิดพื้นที่ชุมชนให้กับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนรู้ท่องเที่ยงเชิงประสบการณ์ในท้องถิ่น

หัวข้อที่ 3 ปิดท้ายด้วยการเรียนรู้วิธีการสร้างโอกาสของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนากลยุทธ์ของเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในชุมชน (Learn How to Develop the IDE Opportunity as Part of Your Node Strategy)  ที่ประกอบด้วยการสร้างกลยุทธ์ (IDE Node Strategy) โดยการกำหนดเป้าหมาย Must-win battles (MWBs) ที่ชัดเจน เพราะนั่นจะเป็นตัวช่วยสำคัญส่งผลให้เกิดการวางแผนที่จะเอื้อให้ประสบความสำเร็จ ให้เชื่อมโยงไปยังการทำงานร่วมกันของเครือข่ายผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมชุมชน รวมทั้งการแสวงหาโอกาสที่สร้างความท้าทาย (Goldilock Challenges) แม้บางครั้งการเริ่มต้นจะเกิดข้อผิดพลาด แต่สามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรม กิจกรรม หรืออะไรก็ได้ที่ใหม่และที่น่าสนใจ

การจัดเวิร์คช็อปออนไลน์ทั้ง 3 หัวข้อในครั้งนี้ IDE Center ได้เริ่มต้นการออกแบบความคิด เพื่อสร้างแผนภาพแห่งโอกาสของการหาไอเดียที่ว้าว ร่วมกันสร้างการออกแบบประสบการณ์ใหม่ สำหรับผู้ประกอบการในท้องถิ่นเปิดพื้นที่ชุมชนให้กับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนรู้ท่องเที่ยงเชิงประสบการณ์ เช่น การเปิดพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยวบาราโหม จังหวัดปัตตานี เรียกได้ว่าเป็นชุมชนสองวิถี โดยการออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาชื่นชมธรรมชาติและงานหัตถกรรม ที่นำเสนอโดย ดร.กฤษดี พ่วงรอด ตัวแทนจาก Node: Pattani อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รวมทั้งการเปิดพื้นที่ชุมชนในจังหวัดหนองคายที่ออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาต่างชาติได้ทำความรู้จักกันในกลุ่มจากการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ที่นำเสนอโดย ผศ.ดร.ชญาดา สุระวนิชกุล ตัวแทนจาก Node: Nong Khai อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

ทั้งนี้ IDE Center พยายามพลักดันให้เครือข่ายประกอบการที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนในประเทศไทย ได้ลองคิดอะไรใหม่ๆ ได้ลองที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และว้าวว Wow! ไปด้วยกัน เพราะการสร้างนวัตกรรม จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราลองมือทำอะไรที่แปลกใหม่ และส่วนหนึ่งของกิจกรรมเวิร์คช็อปออนไลน์ในครั้งนี้จะเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ที่ไม่เคยได้ลงมือทดลองอะไรมาก่อน ได้ลองแลกเปลี่ยนไอเดียและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์

ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมได้ที่เพจ : IDE Thailand