ผลการวิจัย AXA Mind Health Index เผย Gen Z มากกว่าครึ่งในเอเชีย กำลังมีสุขภาพจิตย่ำแย่ ในขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนคนที่มีสุขภาพจิตดีสูงสุด

353

ในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของคนในสังคมอย่างมาก ผลการวิจัยล่าสุดจาก AXA Study of Mind Health and Wellbeing ประจำปี 2566 ได้เปิดเผยว่ากลุ่มคน Gen Z (อายุ 18-24 ปี) ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนกลุ่ม Gen Z ทั่วโลก (53%) และในเอเชีย (51%) มีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ ผลการวิจัยดังกล่าวระบุถึง ความท้าทายที่กลุ่มคน Gen Z ต้องเผชิญในที่ทำงาน ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่นายจ้างจะต้องปรับการสนับสนุนคนในองค์กร ให้เหมาะกับความต้องการเพื่อรับมือกับการลาออกที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ

การวิจัยพบว่ากลุ่มคน Gen Z มีสัดส่วนสูงสุดที่เผชิญกับความเครียดทางอารมณ์และความบกพร่องทางจิตใจ โดยทั่วโลกมีสัดส่วนถึง 18% และ 14% ในเอเชีย ซึ่งมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ในขณะที่ทั่วโลกกลุ่มคนอายุระหว่าง 18-24 ปี มีเพียง 13% เท่านั้นที่มีสุขภาพจิตใจแข็งแรง และในเอเชียมีสัดส่วน 15% ซึ่งต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ทำให้กลุ่มคนอายุ 18-24 ปีเป็นกลุ่มเดียวที่มีภาวะด้านความเครียดทางอารมณ์สูงกว่าทุกกลุ่ม

กลุ่ม Gen Z แสดงความสามารถในการทำงานภายใต้ความเครียดได้ดีกว่า แม้ว่าส่วนใหญ่คิดจะลาออก

ในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า กลุ่มคน Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีพรสวรรค์แต่ได้รับผลกระทบจากความท้าทายที่สำคัญหลายประการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของพวกเขา สิ่งเหล่านี้รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต (69% เทียบกับ 59% ทั่วโลก) การดิ้นรนเพื่อแยกชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (49% เทียบกับ 39% ทั่วโลก) ภาวะการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงาน (47% เทียบกับ 38% ทั่วโลก) และขาดทักษะที่เหมาะสมกับงาน (14% เทียบกับ 9% ทั่วโลก) โดยปัจจัยสุดท้ายนี้ มีความสัมพันธ์อย่างมากกับสุขภาพจิตที่ดี โดยผลจากการวิจัย ผู้ที่มีทักษะการทำงานที่เหมาะสมนั้น จะมีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีที่สุดถึง 2.5 เท่า

ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มอายุ 18-24 ปีในเอเชีย มีสัดส่วนสูงสุดในความคิดที่ตั้งใจจะลาออกในอีก 12 เดือนข้างหน้า (21%) ผลสำรวจพบข้อบ่งชี้ชัดเจนว่ากลุ่มอายุ 18-24 ปีที่กำลังมีสุภาพจิตที่ดีมีแนวโน้มลาออกน้อยกว่า โดยมีเพียง 16% เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องถึงความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี กับการรักษาพนักงานให้ทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในที่ทำงานมีบทบาทสำคัญในสุขภาพจิตองค์รวม

การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในที่ทำงาน ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญในช่วงที่เกิดโรคระบาด การวิจัยยังเผยให้เห็นว่าในเอเชีย บริษัทที่ให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต มีแนวโน้มที่จะมีพนักงานทีมีความสุขสูงกว่า 2.5 เท่า ในขณะที่ 1 ใน 4 ของพนักงาน Gen Z ที่รู้สึกว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงาน มีความสุข ซึ่งอัตรานี้มีเพียง 1 ใน 100 ของกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนดังกล่าว ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดในทุกกลุ่มอายุ สิ่งนี้บ่งชี้ว่า การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตในที่ทำงานมีผลกระทบมากที่สุดต่อสุขภาพจิตของ Gen Z ทำให้กลุ่มนี้เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าว

กอร์ดอน วัตสัน ประธานกรรมการบริหารแอกซ่าเอเชีย และแอฟริกา กล่าวว่า “ในขณะที่สุขภาพจิตใจได้รับความสนใจมากขึ้น หลังจากเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดที่ส่งผลกับชีวิตของเราทุกคน ผลวิจัยนี้ เน้นย้ำว่าคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทั่วเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก บริษัทจำเป็นต้องพิจารณาว่า พวกเขาสามารถสร้างความแตกต่างที่เป็นรูปธรรมด้วยการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของพนักงาน Gen Z ได้อย่างไร ไม่เพียงแต่ช่วยในด้านประสิทธิภาพ และการรักษาลูกค้าเท่านั้น แต่ยังต้องจัดการกับปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย”

บุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีแรกที่กลุ่มแอกซ่า มีการศึกษาเรื่องสุขภาพจิตที่ครอบคลุมข้อมูลในประเทศไทยไว้ด้วย โดยผลการวิจัยจากหลายประเทศในครั้งนี้พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่มีสุขภาพจิตดีสูงที่สุด นอกจากนี้ 66% ของกลุ่มคน Gen Z ในประเทศไทยรู้สึกว่าตนเองมีทักษะการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก ทั้งนี้ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์กรให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน และเติบโตไปพร้อมกับองค์กร อีกทั้งยังให้ความสำคัญด้านการยอมรับความหลากหลายของพนักงาน ช่องว่างระหว่างวัย ของกลุ่ม Gen Z และกลุ่มอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของ Employer Brand Promise คือ “การเสริมพลังศักยภาพของพนักงานที่มุ่งสู่ความสำเร็จ”

ผู้คนในเอเชียโดยรวมมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เชื่อว่าเพราะอคติที่มีต่อเรื่องสุขภาพจิตมีน้อยลง 

ผลการวิจัยพบว่าสัดส่วนของประชากรที่มีสุขภาพจิตที่ดีในเอเชียเพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 22% โดยเอเชียมีสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ในทางตรงกันข้าม สัดส่วนของผู้ที่ประสบปัญหาทางสุขภาพจิตที่ต้องดิ้นรนในเอเชียลดลง 2% เหลือ 12% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาวะทางจิตใจที่ดีขึ้นในภาพรวม นอกจากนี้ 36% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกยอมรับว่า ตนไม่รู้สึกผิดหากมีปัญหาด้านสภาวะทางจิตใจ เมื่อเทียบกับสัดส่วนปีก่อนที่ 31%

ผลการวิจัยพบว่า 25% ของผู้คนทั่วโลกมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย (36%) ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งแรก ผลการวิจัยอยู่ในอันดับที่ดี ในขณะที่ประเทศอิตาลี (18%) อยู่ในระดับต่ำสุด และเมื่อพิจารณาประเทศและภูมิภาคในเอเชียอย่างใกล้ชิด ผลสำรวจพบว่า คนในฟิลิปปินส์สามารถข้ามผ่านภาวะนี้ได้สูงสุดอยู่ที่ 39% ตามมาด้วยฮ่องกงที่ 37%  ทั้งนี้ผู้คนในญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับความเหน็ดเหนื่อยและต้องดิ้นรน สูงถึง 31% และ 14% ตามลำดับ

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของผลวิจัยได้ที่ AXA Study of Mind Health and Wellbeing 2023 ได้ที่ axafittoflourish.com

สำหรับท่านที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1159 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือ https://www.krungthai-axa.co.th/th

สแกน QR Code เพื่อรับชมวิดีโอ AXA Mind Health