ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยถึงแผนการกำกับอุตสาหกรรมประกันภัยไทยหลัง COVID-19 และการขับเคลื่อนประกันภัยในยุค New Normal ว่า คปภ. มุ่งเน้นการบูรณาการ, ผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ประกันภัยโฉมใหม่ต้องเข้าใจง่าย เรียบง่าย และสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง ระบบการตรวจสอบของระบบประกันภัยต้องมีการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์มากขึ้น มีการทำงานร่วมกันมากขึ้นในลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างสายตรวจสอบและสายวิเคราะห์ รวมทั้งในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะเชื่อมมิติสิทธิประโยชน์ของประชาชน รูปแบบธุรกิจประกันภัยต้องมองในมิติการเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น และมีเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการกำกับดูแลภาคธุรกิจประกันภัย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
“คาดว่าวิกฤตจะเป็นโอกาสของประกันภัยของไทย แม้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะกระทบต่อธุรกิจ แต่ธุรกิจประกันภัยต้องมองพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และนำทุกวิกฤตมาปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจประกันภัย และการออกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ หรือนิวนอร์มอล (New Normal) ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะสื่อออกไปในด้านการปรับตัว การดำเนินการจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาประกันภัย ฉบับที่ 4 ที่ สำนักงาน คปภ. จะประกาศใช้ในปี 2564 รวมทั้งระบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ในการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ระบบจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปลายปีนี้”
ทั้งนี้ ด้วยความห่วงใยพี่น้องประชาชน สำนักงาน คปภ. ได้ปรับปรุงประกันภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะมีการตรวจจับการเคลื่อนไหว ปรับโซเชียลมอเตอร์ริ่งในส่วนการคุ้มครอง สอดคล้องกับอาสาสมัครประกันภัย จากที่ผ่านมาอาสาสมัครประกันภัย จะให้ความรู้ด้านประกันภัย ต่อไปจะเพิ่มด้านการแจ้งเบาะแสประกันภัย ซึ่งมีเรื่องการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งเป็นฐานความผิดใหม่ การบริหารจัดการประกันภัย และการฉ้อฉลประกันภัยอยู่ภายใต้บริบทของกฎหมายใหม่ จึงจำเป็นต้องมีกติการองรับในการรับทราบข้อมูลเพื่อประกอบ จึงสร้างระบบที่เป็นกติกาเพื่อให้บริษัทรายงานพฤติกรรมต้องสงสัยเข้ามา ขณะเดียวกันยังมีระบบที่เป็นหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการในสำนักงาน คปภ. เพราะทุกเรื่องของกติกาต่างๆ มาพร้อมกับคนที่อาจจะฉวยโอกาส จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการกลั่นกรองที่เหมาะสม ไม่ให้เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการลั่นแกล้งกัน จึงต้องร่วมบูรณาการการทำงาน ทั้งสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่มีเครื่องมือด้านระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากสายด่วยคปภ. 1186 ในส่วนของกฎหมาย ไกล่เกลี่ย สามารถเชื่อมโยงกฎหมายกับเบาะแสที่แจ้งเข้ามา และเชื่อมโยงกับระบบโซเชียลมอเตอร์ริ่ง ด้านตรวจสอบทำให้การบริหารจัดการวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆเป็นไปอย่างสมบูรณ์แม่นยำมากขึ้น เป็นระบบเรียลไทม์จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลแม่นยำ เพิ่มคุณค่าในการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน ตลอดจนการแก้ปัญหาที่ต้นทาง ซึ่งเป็นเหตุให้การร้องเรียนในเรื่องประกันภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะนี้ สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการประกันสุขภาพในระยะยาว ขณะที่ในระยะสั้น สามารถทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองด้านประกันสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการแก้ปัญหาระยะสั้นคือ ปรับปรุงแบบสัญญาประกันสุขภาพให้สอดคล้องกัน และแก้ปัญหาในจุดที่เกิดขึ้นกับประกันระยะสั้น ส่วนในระยะยาว อยู่ระหว่างการศึกษาว่าควรมีกฎหมายประกันสุขภาพ เนื่องจากการทำประกันชีวิตในส่วนของประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย แม้จะเป็นประกันสุขภาพเหมือนกัน แต่มีแนวทางการตีความที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความสับสน จึงปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เมื่อดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จ จะรีบนำเสนอบอร์ด คปภ. พิจารณาต่อไป คาดว่าร่างกฎหมายจะเสร็จในต้นปี 2564 จะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องในบ้านเมืองจะเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ บริบทสังคมเปลี่ยนไป มีเรื่องโควิด-19 เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ในแง่ของบริษัทประกันภัยต้องปรับตัว ปรับปรุงรูปแบบการทำประกันภัยให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โอกาสนี้เป็นโอกาสทองที่ได้ปรับเปลี่ยน ขณะที่ สำนักงาน คปภ. นำบริบทของการพัฒนาโครงการเรื่องเทคโนโลยีแซนบล็อกเข้ามาช่วยให้การทำงานของบริษัทประกันสะดวกขึ้น