ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด ดึงเงินกองทุนกู้วิกฤติ

1230

ความผันผวนเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกตลอดระยะเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยที่น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) มีราคาเพิ่มขึ้น 15.30 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 61.75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 77.05 เหรียญสหรัฐฯ/ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018)

ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้น 16.69 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล (จาก 76.55 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2018 เป็น 93.24 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018) หรือเท่ากับ 3.30 บาท/ลิตร

เมื่อคำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2018 ที่ 31.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนได้อ่อนตัวลงเป็น 32.29 บาท/เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นอีก 0.52 บาท/ลิตร เป็น 3.82 บาท/ลิตร

แต่ด้วยการปรับสูตรการคำนวณราคาอ้างอิง ณ โรงกลั่น และการลดจำนวนเงินจัดเก็บเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.15 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2018 ส่งผลให้ราคาดีเซลขายปลีกในประเทศ เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่ควรเป็น 0.62 บาท/ลิตร คือเพิ่มขึ้นสุทธิจริงเท่ากับ 3.20 บาท/ลิตร เป็น 29.79 บาท/ลิตร

และเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล กระทรวงพลังงานจึงได้เตรียมมาตรการดูแลกรณีวิกฤติราคาผันผวนอย่างรวดเร็วต่อผู้บริโภค โดยการใช้กองทุนช่วยลดภาระให้ขึ้นราคาขายปลีกเท่ากับ 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มขึ้น กล่าวคือหากราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น 1 บาท จะใช้กองทุนช่วยลดภาระ 50 สตางค์ และขึ้นราคา 50 สตางค์

โดยที่หากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้นถึง 90 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล  จะส่งผลให้ราคาดีเซลอ้างอิง Platts ในตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นเป็น 105 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานะกองทุนน้ำมันที่มีคงเหลือประมาณ 30,000 ล้านบาท จะเพียงพอสำหรับมาตรการการใช้กองทุนช่วยลดภาระการขึ้นราคาขายปลีก 50% ของราคาที่ควรจะเพิ่มดังกล่าว ได้ประมาณ 10 เดือน