พนักงานในเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นยังกังวลประสิทธิภาพระบบการทำงานระยะไกล

942

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลวิจัยชี้ 81 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานในเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น พร้อมสำหรับการทำงานจากทางไกลในระยะยาว หากแต่ยังกังวลเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน

พนักงานมีความกังวลในการที่อาจไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงาน รวมไปถึงเส้นแบ่งเขตการทำงานกับชีวิตความเป็นส่วนตัวที่ยังดูคลุมเครือในการเตรียมความพร้อม เพื่อการทำงานจากระยะไกล (remote work) ในระยะยาว

มีพนักงานเพียง 46 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นที่รู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากเจ้าของกิจการหรือผู้ว่าจ้างในการทำงานจากทางไกลในระยะยาว

ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีต่างๆ ที่พนักงานต้องการมากที่สุดคืออุปกรณ์ หรือทูลส์ ที่ช่วยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ(productivity) ในการทำงานและเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กรได้จากระยะไกล

พนักงานต้องการให้ผู้ว่าจ้างจัดให้มีรูปแบบการฝึกอบรมที่ดีที่สุดสำหรับช่วงเวลา (sessions) ในการทำงานระยะไกล (remote working) รวมถึงการเรียนรู้แบบเวอร์ชวล (virtual learning) ตลอดจนด้านการพัฒนา

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศผลวิจัยใหม่เผยให้เห็นความพร้อมของพนักงานภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ต่อการทำงานจากทางไกลในระยะยาว จากดัชนีความพร้อมของการทำงานจากระยะไกล หรือ Remote Work Readiness (RWR) Index (RWR) ที่เริ่มทำในขั้นต้นนี้พบว่ามากกว่า 8 ใน 10 (81เปอร์เซ็นต์) ที่สำรวจพนักงานของทั้งภูมิภาครู้สึกว่าพวกเขาได้รับการเตรียมความพร้อมแล้วสำหรับการทำงานจากที่บ้าน หรือจากระยะไกลในระยะยาว หากแต่ยังมีความกังวลอยู่บ้างในกรณีของเส้นแบ่งของการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่ดูจะยังไม่ชัดเจน

จากการสำรวจคนทำงานมืออาชีพ (Professionals) มากกว่า 7,000 คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ทั้งนี้ ดัชนีความพร้อมของการทำงานจากระยะไกล หรือ Remote Work Readiness Index (RWR Index) ได้รวบรวมข้อมูลทัศนคติและความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อการทำงานระยะไกลในระยะยาว ตลอดจนความต้องการในแง่ของเทคโนโลยีและการสนับสนุนที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรบุคคล (HR) ซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการทำงาน

“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2020 ได้กำหนดรูปแบบการทำงานของเราขึ้นใหม่ ทำให้ไม่ต้องยึดติดกับเวลา และสถานที่ในการทำงานอีกต่อไป แต่ด้วยผลลัพธ์ที่ได้รับ” ชอง-กิลโยม ปงส์ รองประธาน ไคลอันท์ โซลูชัน กรุ๊ป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ญี่ปุ่น และเกรทเตอร์ ไชน่า เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ด้วยการเตรียมความพร้อมในการทำงานทั้งในรูปแบบทางไกล (remote) และในแบบผสมผสานกันแบบไฮบริดกำลังกลายเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น (new reality) สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานหรือผู้ว่าจ้างต้องเตรียมพร้อมคือการจัดหาเทคโนโลยีที่จำเป็น และรองรับการทำงานด้าน HR เพื่อซัพพอร์ตการทำงานของพนักงาน การสำรวจดัชนีความพร้อมของการทำงานจากระยะไกล หรือ Remote Work Readiness Index ทำหน้าที่เสมือนแพลตฟอร์มสำหรับเราในการที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานในการที่รักษาการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนรักษาประสิทธิผลจากการทำงานไม่ว่าจากที่ใดก็ได้ในระยะยาว”

จากการวิจัย เจ้าของธุรกิจหรือผู้ว่าจ้างมีหน้าที่อย่างไม่หยุดยั้งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายที่พนักงานต้องพบเจออย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการทำงานจากทางไกลหรือ remote work ให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว

เมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความพยายามของเจ้าของธุรกิจในการจัดเตรียมทรัพยากรทางเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการทำงานทางไกล มีพนักงานเพียงครึ่งเดียว (50 เปอร์เซ็นต์) จากการสำรวจที่รู้สึกว่าผู้ว่าจ้างทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้แล้วในการให้การสนับสนุนการทำงาน และในช่วงที่อยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการควบคุมโรคระบาด พนักงานที่ตอบแบบสำรวจกล่าวอ้างถึงความไม่เสถียรของระบบเครือข่ายทางไกล (remote networks) รวมถึงข้อจำกัดในด้านแบนด์วิธของอินเทอร์เน็ต (31 เปอร์เซ็นต์) คือความท้าทายด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ พนักงานยังประสบปัญหาในการเข้าถึงทรัพยากรภายในของบริษัท (29 เปอร์เซ็นต์) และยังต้องจัดการกับการใช้เครื่องมือหรือทูลส์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพส่วนตัว (28 เปอร์เซ็นต์) ในการทำงาน

ด้วยเหตุนี้ พนักงานจึงระบุว่าต้องการให้ผู้ว่าจ้างช่วยจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (39 เปอร์เซ็นต์) และต้องการความมั่นใจว่าพวกเขาจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรภายในของบริษัทได้ (36 เปอร์เซ็นต์)

ในแง่ของการสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคล การสำรวจกลุ่มพนักงานภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นระบุว่าความท้าทายในอันดับต้นคือการขาดหายไปของสื่อสารระหว่างบุคคล (in-person communications) (41 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่ความท้าทายที่สำคัญอื่น ๆ ยังรวมถึงการขาดช่วงเวลาในการเรียนรู้และพัฒนา รวมทั้งการเทรนนิ่งสำหรับทูลส์แบบเวอร์ชวล (39 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวเนื่องกับแนวการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) ในด้านการทำงานจากระยะไกลและแนวนโยบายตลอดจนแนวทางที่ล้าสมัยสำหรับการทำงานระยะไกล (38 เปอร์เซ็นต์)

เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการจัดการงานจากระยะไกลในระยะยาว พนักงานที่ร่วมในการสำรวจต้องการเซสชันเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ตลอดจนการฝึกอบรมกรใช้เวอร์ชวล ทูลส์ (48 เปอร์เซ็นต์) การฝึกอบรมด้วยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานระยะไกล (47 เปอร์เซ็นต์)) และแนวคิดริเริ่มด้านการมีส่วนร่วมของทีม (46 เปอร์เซ็นต์)

“ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ความเป็นผู้นำ และวัฒนธรรมในการช่วยให้พนักงานและทั้งหมดสามารถยืนหยัดผ่านอุปสรรคไปได้คือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานได้อย่างดีที่สุด” ปงส์ กล่าวเสริม “ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ เราเข้าใจเป็นอย่างดีถึงความท้าทายที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่และได้ลงมือให้ความช่วยเหลือให้องค์กรสามารถเข้าถึงรูปแบบการทำงานที่ปลอดภัยในระหว่างการเคลื่อนที่ที่มีความยืดหยุ่นอย่างแท้จริงตามโปรแกรม Connected Workplace ของเรา ทั้งนี้ เราสนับสนุนให้ผู้ว่าจ้างไตร่ตรองแนวทางปฏิบัติงานระยะไกลที่ดีที่สุดและพัฒนาเชิงรุกเพื่อสภาพแวดล้อมแบบใหม่”